พระเครื่อง อมูเลทตั้มศรีวิชัย ตลาดพระเครื่องรางของขลัง สวนไผ่สกลนคร หน่อไม้น้ำ หญ้าหวานอิสราเอล วันตรุษจีน2567
>...ตั้มศรีวิชัย TumAmulet ...< Thailand Amulet Charms |
คำแนะนำจากตำรวจเมื่อถูกโกง |
เงื่อนไขการรับประกัน การันตีพระเครื่อง |
สารบัญพระเครื่องเมืองนคร |
ทำเนียบพระกรุเมืองนคร |
ทำเนียบพระเครื่องเมืองนคร |
ชมรมพระเครื่อง |
บูชาพระเครื่อง เครื่องรางของขลัง Amulets Charms Talismans |
ตลาดพระ amulet for you |
เช่า-บูชา เครื่องรางของขลัง |
พระหลวงปู่ทวด วัดต่างๆ |
จตุคาม-รามเทพ หลักเมืองนคร Jatukamramtep (Jatukarm) |
หลักเมืองนครศรีธรรมราช |
จตุคาม ของดีนำมาโชว์ |
บทความ น่ารู้องค์พ่อจตุคาม |
Jatukam Amulets |
บทความจตุคามรามเทพ |
ลิงค์น่าสนใจ |
หนังสือพิมพ์ |
ลิ้งค์เพื่อนบ้าน |
เทศกาล วันสำคัญ |
ดวง ดูดวง หน้าหลัก |
บทความดีๆ |
นิทานสอนใจ |
วัฒนธรรมไทย ประเพณีไทย |
บทสวดมนต์ สำหรับชาวพุทธ |
พระเครื่อง นานาสาระ |
พระพุทธรูปสำคัญของไทย |
คาถา-อาคม พระคาถาอาคม |
พระพุทธรูปปางต่างๆ |
พุทธศาสนสุภาษิต |
ข่าวพระเครื่อง |
บทความพระเครื่อง |
Thai Buddha Amulets |
ข่าวพระพุทธศาสนา |
ข่าวเครื่องรางของขลัง |
สาระพระเครื่องไทย |
ประวัติพระวิปัสสนาจารย์ |
สวนไผ่ พันธุ์หญ้า ธนภัทรสกลนคร สินค้าเกษตรออนไลน์ ไผ่สายพันธุ์ต่างๆ ไผ่ข้าวหลามกาบแดง ไผ่ซางหม่น หน่อไม้น้ำ หญ้าหวานอิสราเอล หญ้านรกจักรพรรดิ์ หญ้าเนเปียร์ปากช่อง1 หญ้าเนเปียร์แคระ หญ้าเนเปียร์ท้ายเขื่อนซุปเปอร์ลีฟ สะสมพระเครื่อง แต่ใจรักเกษตรผสมผสาน
|
คำว่าพระเครื่อง พระพิมพ์ กับความเชื่อมีมาตั้งแต่เมื่อไหร่ ?
คำว่าพระเครื่อง พระพิมพ์ กับความเชื่อมีมาตั้งแต่เมื่อไหร่ ? ปัจจุบันนับว่าผู้คนให้ความสนใจในเรื่องของการสะสมพระเครื่องและวัตถุมงคลมีจำนวนมากขึ้น และเป็นที่น่าสนใจตรงที่ผู้ที่นิยมสะสมในปัจจุบันนี้มีอายุน้อยลง ซึ่งในอดีตนั้นเราจะพบว่าส่วนใหญ่แล้วจะมีอายุอยู่ประมาณวัยกลางคนซะส่วนใหญ่ คำว่าพระเครื่องคือ พระพิมพ์+เครื่องรางของขลัง ก็คือพระเครื่องราง บทความพระเครื่องนี้จะทำให้รู้ที่มาของ ความหมายคำว่า พระเครื่อง หรือ พระพิมพ์
พระพิมพ์ พระเครื่อง เครื่องรางของขลัง พระเครื่องราง หมายถึงพระพิมพ์องค์เล็กๆ สำหรับนำติดตัวไปบูชานั้น คำว่า “พระเครื่อง” ไม่ได้เป็นของที่มีอยู่ในสังคมไทยมาแต่เดิม หากเป็นสิ่งที่พึ่งเกิดขึ้นในช่วงไม่กี่ร้อยปีมานี้เอง ความนิยมในการพก "พระพิมพ์" ซึ่งสมัยก่อนสร้างขึ้นมาเพื่อหวังว่าจะเป็นเครื่องช่วยประกาศสืบทอดพระศาสนาให้แพร่หลายไปได้อีกหลายพันปี พระพิมพ์เหล่านี้ ได้กลายสถานะมาเป็นคำว่า พระเครื่อง นั้นเป็นคำที่ใช้เรียกแทนคำว่า “พระศักรพุทธปฏิมา” ซึ่งเป็นชื่อนามที่ใช้เรียกกันในทางอิทธิฤทธิ์กฤตยาคม มิใช่การกำหนดความหมายในทางโบราณคดีโดยความเป็นจริงแล้ว “พระพิมพ์” หรือ “พระเครื่อง” ก็คือสิ่งเดียวกัน จากหลักฐานสำคัญ เช่น การพบจารึกบนแผ่นจารึกลานทองของ กรุพระปรางค์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดสุพรรณบุรี และแผ่นจารึกลานเงินของกรุพระบรมธาตุเจดีย์นครชุม จังหวัดกำแพงเพชร เป็นต้น ได้แสดงให้ทราบถึงพุทธาคม กรรมวิธีในการสร้างพระเครื่อง ซึ่งเป็นมรดกตกทอดสืบสานมาถึงทุกวันนี้ จากหลักฐานดังกล่าวแสดงว่าพระพิมพ์ทั้งหลายได้ผ่านกรรมวิธีบรรจุพุทธคุณ วิทยาคาถา และพุทธปรมาภิเษกสำเร็จเป็น พระศักรพุทธปฏิมาอันวิเศษแล้ว
ความหมายของพระเครื่อง
ความเชื่อเรื่องพระพิมพ์ พระเครื่องราง ความเชื่อเรื่อง พระเครื่อง และคำว่าพระเครื่อง พระพิมพ์เป็นสิ่งไม่พบเห็นในสังคมไทยสมัยกรุงศรีอยุธยา ภาพจิตรกรรมฝาผนังตามวัดต่างๆ ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาลงมาก็ไม่ปรากฏว่ามีรูปทหารที่เอาพระมาห้อยคอ หรือวรรณคดีต่างๆก็ไม่มีกล่าวถึงการนำ"พระพิมพ์"ต่างๆมาคล้องคอ วรรณคดีเรื่อง ขุนช้างขุนแผน ซึ่งอยู่ในสมัยอยุธยาตอนปลาย - หรือตอนต้นรัตนโกสินทร์ ก็ไม่มีใครนำ พระพิมพ์มาห้อยคอ จะมีก็แต่เครื่องรางของขลังจำพวก เสื้อยันต์ ตะกรุด ผ้ายันต์ ผ้าประเจียด ลูกอม เท่านั้น
ความเชื่อเรื่องพระพิมพ์และคำว่า พระเครื่อง คาดว่าน่าจะมีช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งมีพบเห็นกันแล้ว ที่เห็นได้เด่นชัด ก็ได้แก่ (พระสมเด็จ ที่สมเด็จฯพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี) สร้างขึ้นเพื่อสืบทอดพระศาสนาและเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ สำหรับพุทธานุภาพพระเครื่องของสมเด็จฯนั้นมีผู้โจษขานเลื่องลือกันมาก โดยเฉพาะเหตุการณ์สำคัญเมื่อครั้งอหิวาตกโรคระบาดครั้งยิ่งใหญ่ในอดีต เมื่อปีระกา พ.ศ. 2416 ปรากฎว่าบ้านใดมีพระพิมพ์สมเด็จ แล้วอาราธนาพระสมเด็จทำน้ำมนต์อาบ บริโภคจะปราศจากโรคร้ายได้ แต่ถึงกระนั้นประชากรในกรุงเทพฯ ก็ล้มตายกันประดุจใบไม้ล่วงถึงกับมีคำขวัญ ว่า “คนหัวโตกินแตงโมวัดแจ้ง ไปดูแร้งวัดสระเกศ ไปดูเปรตวัดสุทัศน์” คำว่าแร้งวัดสระเกศหมายถึงบรรดาแร้งที่ลงกินศพคนตาย ซึ่งไม่สามารถจะเผาศพได้ทันจึงนำมาสุมกันไว้ เมื่อใครได้มาเห็นจะเกิดธรรมสังเวชในจิตใจเป็นอย่างยิ่ง และเมื่อเวลามีศึกสงคราม ก็จะพกพระพิมพ์ หรือพระเครื่องรางติดตัว เพื่อเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ ซึ่งส่วนใหญ่พระเครื่องสมัยที่สร้างเมื่อคราวที่มีศึกสงครามส่วนใหญ่แล้วจะมีความเชื่อถือกันว่า พระเครื่องพระพิมพ์เหล่านั้นจะมีพุทธคุณด้าน ปกป้องคุ้มครองไม่ให้ได้รับอันตรายจากข้าศึก เช่นพุทธคุณด้านคงกระพันชาตรี หนังเหนียว ฟันแทงไม่เข้า กำบังตนและมหาอำนาจ ส่วนในคราวที่บ้านเมืองอยู่ช่วงว่างเว้นจากสงครามบ้านเมืองสงบสุข พระเกจิอาจารย์หรือผู้รู้ที่สร้างพระพิมพ์ วัตถุมงคลพระเครื่องก็อาจจะปลุกเสก พระเครื่องให้มีพุทธคุณ เด่นด้านเมตตามหานิยม มหาเสน่ห์ เพื่อสืบทอดพุทธศาสนาและเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ เลยเป็นที่มาของคำว่า"พระเครื่อง"
|