พระเครื่อง อมูเลทตั้มศรีวิชัย ตลาดพระเครื่องรางของขลัง สวนไผ่สกลนคร หน่อไม้น้ำ หญ้าหวานอิสราเอล วันตรุษจีน2567
>...ตั้มศรีวิชัย TumAmulet ...< Thailand Amulet Charms |
คำแนะนำจากตำรวจเมื่อถูกโกง |
เงื่อนไขการรับประกัน การันตีพระเครื่อง |
สารบัญพระเครื่องเมืองนคร |
ทำเนียบพระกรุเมืองนคร |
ทำเนียบพระเครื่องเมืองนคร |
ชมรมพระเครื่อง |
บูชาพระเครื่อง เครื่องรางของขลัง Amulets Charms Talismans |
ตลาดพระ amulet for you |
เช่า-บูชา เครื่องรางของขลัง |
พระหลวงปู่ทวด วัดต่างๆ |
จตุคาม-รามเทพ หลักเมืองนคร Jatukamramtep (Jatukarm) |
หลักเมืองนครศรีธรรมราช |
จตุคาม ของดีนำมาโชว์ |
บทความ น่ารู้องค์พ่อจตุคาม |
Jatukam Amulets |
บทความจตุคามรามเทพ |
ลิงค์น่าสนใจ |
หนังสือพิมพ์ |
ลิ้งค์เพื่อนบ้าน |
เทศกาล วันสำคัญ |
ดวง ดูดวง หน้าหลัก |
บทความดีๆ |
นิทานสอนใจ |
วัฒนธรรมไทย ประเพณีไทย |
บทสวดมนต์ สำหรับชาวพุทธ |
พระเครื่อง นานาสาระ |
พระพุทธรูปสำคัญของไทย |
คาถา-อาคม พระคาถาอาคม |
พระพุทธรูปปางต่างๆ |
พุทธศาสนสุภาษิต |
ข่าวพระเครื่อง |
บทความพระเครื่อง |
Thai Buddha Amulets |
ข่าวพระพุทธศาสนา |
ข่าวเครื่องรางของขลัง |
สาระพระเครื่องไทย |
ประวัติพระวิปัสสนาจารย์ |
สวนไผ่ พันธุ์หญ้า ธนภัทรสกลนคร สินค้าเกษตรออนไลน์ ไผ่สายพันธุ์ต่างๆ ไผ่ข้าวหลามกาบแดง ไผ่ซางหม่น หน่อไม้น้ำ หญ้าหวานอิสราเอล หญ้านรกจักรพรรดิ์ หญ้าเนเปียร์ปากช่อง1 หญ้าเนเปียร์แคระ หญ้าเนเปียร์ท้ายเขื่อนซุปเปอร์ลีฟ สะสมพระเครื่อง แต่ใจรักเกษตรผสมผสาน
|
ประวัติการสร้าง พระกริ่ง-พระชัยวัฒน์
ประวัติการสร้าง พระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ มีมาแต่โบราณ
ประวัติพระกริ่ง เริ่มขึ้นที่ในประเทศทิเบต และจีน จึงเรียกติดปากว่า พระกริ่งทิเบต
และพระกริ่งหนองแส พระกริ่งเป็น พระพุทธเจ้าปางมาช่วยโปรดสัตว์โลก หรือเรียกกันว่า
"พระไภสัชคุรุ" เป็น พระพุทธเจ้าปางหนึ่งของลัทธิมหายาน ซึ่งหมายความว่า
ทรงเป็นครูในด้านเภสัช คือ การรักษาพยาบาล ต่อมาได้แพร่หลายมาก นิยมสร้างในเขมร
เรียกว่า พระกริ่งอุบาเก็ง หรือ พระกริ่งพนมบาเก็ง และพระกริ่งพระปทุมสุริยวงศ์ สำหรับพระกริ่งที่มีชื่อเสียงทรงคุณวิเศษหลายประการมีผู้นิยมนับถือกันมากยิ่งในปัจจุบันนี้ยิ่งหายาก ต้องยกให้ พระกริ่งวัดสุทัศนฯ เพราะสมเด็จพระสังฆราช(แพ) ทรงสร้างไว้จำนวนไม่มากพระกริ่ง พระชัยวัฒน์ สุดยอดพิธีกรรม พระกริ่ง วัดสุทัศน์ สาเหตุที่ทรงสร้าง พระกริ่งวัดสุทัศนนั้นเนื่องจากเมื่อครั้งที่ สมเด็จพระวันรัต(แดง) พระอุปัชฌาย์อาพาธเป็นอหิวาตกโรค สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์ของพระองค์ทรงเคยรักษาผู้ป่วยเป็นอหิวาตกโรคให้หายได้ ด้วยการอาราธนาพระกริ่งลงในน้ำ ทำเป็นน้ำพระพุทธมนต์ แล้วโปรดให้น้ำนั้นแก่ผู้ป่วยดื่ม ปรากฏว่าหายอย่างน่าอัศจรรย์ เมื่อตรัสอย่างนั้นแล้วก็อาราธนาพระกริ่งลงในน้ำ ทำน้ำพระพุทธมนต์ประทานแก่ สมเด็จพระวันรัต(แดง) เมื่อท่านฉันน้ำพระพุทธมนต์นั้นแล้วก็บรรเทาหายอาพาธเป็นปกติ สมเด็จพระสังฆราช(แพ ติสฺสเทว) วัดสุทัศนเทพวรารามได้ทอดพระเนตรเห็นคุณวิเศษน่าอัศจรรย์ของพระกริ่งในขณะนั้นแล้ว จึงเกิดความสนพระทัย และทรงเริ่มศึกษาค้นคว้าตำราที่จะสร้างพระกริ่งเรื่อยมา จนมีความรู้ความเชี่ยวชาญในการสร้าง จนเจนจบ เมื่อจะมีการสร้างพระกริ่งขึ้นครั้งใด พระองค์จะถูกขอร้องให้เป็นผู้ชี้แจงการสร้าง และการหล่อ ในฐานะประธานการหล่อพระกริ่งเสมอมา ประวัติพระกริ่ง ตำนานพระกริ่ง
พระชัยวัฒน์ ตำนานพระกริ่งและพระชัยวัฒน์ "คำว่ากริ่ง" นี้ หมายความว่ากระไร สมเด็จฯ (สมเด็จพระสังฆราช แพ ติสฺสเทว) เคยรับสั่งเสมอว่า คำว่า "กริ่ง" นี้ มาจากคำถามที่ว่า "กึ กุสโล" (กิง กุสะโล) คือ เมื่อพระโยคาวจรบำเพ็ญสมณธรรมมีจิตผ่านกุศลธรรมทั้งปวงเป็นลำดับไปแล้ว ถึงขั้นสุดท้ายจิตเสวยอุเบกขาเวทนา ปุญญาภิสังขาร (สภาพที่ปรุงแต่งกรรมฝ่ายดี ได้แก่ กุศลเจตนา) เปลี่ยนเป็น อเนญชา (สภาพที่ปรุงแต่งภพอันมั่นคง ไม่หวั่นไหว ได้แก่ ภาวะจิตที่มั่นคงแน่วแน่ด้วยสมาธิแห่งจตุตถฌาน คือ ฌานที่ 4) เป็นเหตุให้พระโยคาวจรเอะใจขึ้นว่า "กึ กุสโล" นี้เป็นกุศลอะไร เพราะเป็นธรรมที่เกิดขึ้น แปลกประหลาด ไม่เหมือนกับกุศลอื่นที่ผ่านมา ดังนั้น คำว่า "กึ กุสโล" จึงเป็นชื่อของ อเนญชา คือ "นิพพุติ" แปลว่า "ดับสนิท" คือหมายถึงพระนิพพานนั่นเอง" พุทธคุณพระกริ่ง สำหรับคำกล่าวว่า ตำราสร้างพระกริ่ง ในยุคกรุงรัตนโกสินทร์นี้ เดิมเป็นตำราของสมเด็จพระนพระชัต วัดป่าแก้ว สำนักอรัญญิกาวาสสมถธุระวิปัสสนาธุระแห่งกรุงศรีอยุธยา และมาอยู่ที่สมเด็จกรมพระยาปรมานุชิตชิโนรส ศรีสุคตขัตติยวงศ์ วัดพระเชตุพนฯ จากนั้นพรมงคลทิพย์มุนี (มา) วัดจักรวรรดิราชาวาส ก่อนที่จะมาตกอยู่ที่สมเด็จพระสังฆราช (แพ) เมื่อครั้งยังทรงสมณศักดิ์เป็นพระเทพโมลี ขั้นตอนการสร้างพระกริ่ง ตำราการสร้างพระกริ่ง
สายวัดสุทัศนฯ ด้วยมวลสารพิธีกรรมและฤกษ์ ทำให้พระกริ่งที่ สร้างในยุคก่อนมีความเข้มขลังสามารถแช่น้ำทำน้ำมนต์มาดื่มกันรักษาโรคได้ แต่การสร้างยุคหลัง ส่วนใหญ่จะเป็นการรวบรัด แม้ว่าจะเป็นเนื้อนวโลหะครบตามสูตร แต่การจารยันต์และฤกษ์การเทนั้นไม่เป็นตามตำรา พระกริ่งยุคหลังจึงนำมาแช่น้ำทำน้ำมนต์มาดื่มกันรักษาโรคไม่ได้ดีเท่าในอดีต พระกริ่ง เป็นพระเครื่องที่คนในวงการพระเครื่องเชื่อมากันตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะ "เซียนพระกริ่ง" ยังเชื่อกันอย่างแน่วแน่ว่า สามารถช่วยรักษาโรคภัยไข้เจ็บต่างๆได้ทุกโรค โดยเฉพาะโรคที่การแพทย์แผนปัจจุบันหาสาเหตุไม่พบ และรักษาด้วยยาไม่ได้ ยามใดที่เกิดอาการเจ็บไข้ได้ป่วยจงอธิษฐานขออำนาจพุทธคุณในพระกริ่ง แล้วนำพระแช่น้ำ จากนั้นก็เอามาดื่ม บ้างก็นำมาอาบ เพื่อความเป็นสิริมงคล โรคภัย ไข้เจ็บป่วยอยู่นั้น ก็จะหายโดยอัศจรรย์ เรื่องการใช้พระกริ่งทำ น้ำมนต์รักษาโรคนั้นผมเคยมีประสบการณ์ตรงด้วยตัวเองเมื่อประมาณปี 2530 ลูกชายคนโต (นายอรรจน์ จิระเจริญยิ่ง ปัจจุบันอายุ 26 ปี) ท้องร่วงอย่างรุนแรง ต้องหามส่งโรงพยาบาล หมอเริ่มให้กินยาชุดแรกตอน 02.00 น. และชุดที่ 3 ประมาณ 04.00 น. อาการก็ไม่ดีขึ้น นอนดิ้นทุรนทุราย จึงคิดถึงคำร่ำลือเรื่องพระกริ่งช่วยรักษาโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ได้ทุกโรค จากนั้นนำพระกริ่งวัดช้างปี 2484 ที่พกติดตัวเป็นประจำ เอาน้ำใส่แก้ว จากนั้นก็ยกมืออธิษฐานก่อนที่จะแช่พระกริ่งใน แก้ว แล้วให้ลูกดื่มกิน เพียงแค่ลูกกลืนน้ำอึกที่ ๓ ลูกก็หลับสนิท ตื่นมาอีกครั้งตอนเที่ยงวันของวันรุ่งขึ้น สามารถกินข้าวได้ และออกจากโรงพยาบาลได้ราวกับไม่มีอะไรเกิดขึ้นเลย ล้งท่าพระจันทร์ ที่มา |
[1] |
ความคิดเห็นที่ 3 (151771) | |
ประวัติการสร้าง พระกริ่งญาณวเรศ ในปี พ.ศ.2556 ได้นำแบบพระกริ่งปวเรศ 2530 เป็นต้นแบบ แต่ได้ลดขนาดให้เล็กลงเหลือ 3 ซม. และองค์เล็กมีขนาด 2 ซม. เพื่อให้เหมาะกับการใช้งานหรือสำหรับห้อยคอ เหมาะกับผู้ใหญ่และเด็ก พระกริ่งญาณวเรศ ได้รับอนุญาตให้สร้างโดย พระมหาฉัตรชัย สุฉตฺตชโย ผศ. ดร. ปธ.9 ตำหนักซ้าย วัดบวรนิเวศวิหาร เพื่อหารายได้สมทบทุนสร้างอุโบสถดินและเสนาสนะวัดสิงห์ทอง จังหวัดยโสธร เนื่องในวโรกาสปีมงคล สมเด็จพระสังฆราชทรงเจริญพระชันษาครบ 100 ปี มีทั้งหมด 5 เนื้อด้วยกัน คือ ทองคำ เงิน นวโลหะ สัตตโลหะ ทองฝาบาตร จำนวนสร้างทั้งหมด 34,123 องค์ เททองปฐมฤกษ์ ในวันที่ 7 กรกฎาคม 2556 สมเด็จพระวันรัต ประธานเททอง และจะมีพิธีพุทธาภิเษก ณ อุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร ในวันที่ 5 กันยายน 2556 สมเด็จพระวันรัต ประธานจุดเทียนชัย พระเทพสารเวที ประธานดับเทียนชัย พร้อมด้วยเกจิอาจารย์นั่งปรกอธิษฐานจิตจำนวน 9 รูป ใต้ฐานบรรจุพระเกศาและจีวรสมเด็จพระสังฆราช มีหมายเลขกำกับและใบกำกับพระทุกองค์ | |
ผู้แสดงความคิดเห็น วิ (viset-donk-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2013-07-10 09:11:49 |
ความคิดเห็นที่ 2 (151073) | |
มีข้อมูลสำหรับเรียนรู้เป็นประโยชน์มากแต่ภาพรองเท้าหน้าwebอยู่บนรูปพระไม่ค่อยเหมาะสมครับช่วยพิจารณาด้วย | |
ผู้แสดงความคิดเห็น ชาวพุทธ วันที่ตอบ 2012-06-20 10:35:03 |
ความคิดเห็นที่ 1 (147957) | |
ครับ..ขอบพระคุณที่ได้กรุณามอบวิทยาทานนี้เพ่ือจะได้ค้นคว้าเพิ่มเติมต่อยอดต่อไป | |
ผู้แสดงความคิดเห็น สันติพงษ์ นาคประดา (santipocoml-dot-ng_na-at-hotmai)วันที่ตอบ 2011-07-06 12:01:42 |
[1] |