ReadyPlanet.com
dot
>...ตั้มศรีวิชัย TumAmulet ...< Thailand Amulet Charms
dot
bulletคำแนะนำจากตำรวจเมื่อถูกโกง
bulletเงื่อนไขการรับประกัน การันตีพระเครื่อง
dot
สารบัญพระเครื่องเมืองนคร
dot
bulletทำเนียบพระกรุเมืองนคร
bulletทำเนียบพระเครื่องเมืองนคร
bulletชมรมพระเครื่อง
dot
บูชาพระเครื่อง เครื่องรางของขลัง Amulets Charms Talismans
dot
bulletตลาดพระ amulet for you
bulletเช่า-บูชา เครื่องรางของขลัง
bulletพระหลวงปู่ทวด วัดต่างๆ
dot
จตุคาม-รามเทพ หลักเมืองนคร Jatukamramtep (Jatukarm)
dot
bulletหลักเมืองนครศรีธรรมราช
bulletจตุคาม ของดีนำมาโชว์
bulletบทความ น่ารู้องค์พ่อจตุคาม
bulletJatukam Amulets
bulletบทความจตุคามรามเทพ
dot
ลิงค์น่าสนใจ
dot
bulletหนังสือพิมพ์
bulletลิ้งค์เพื่อนบ้าน
bulletเทศกาล วันสำคัญ
bulletดวง ดูดวง หน้าหลัก
bulletบทความดีๆ
bulletนิทานสอนใจ
bulletวัฒนธรรมไทย ประเพณีไทย
bulletบทสวดมนต์ สำหรับชาวพุทธ
dot
พระเครื่อง นานาสาระ
dot
bulletพระพุทธรูปสำคัญของไทย
bulletคาถา-อาคม พระคาถาอาคม
bulletพระพุทธรูปปางต่างๆ
bulletพุทธศาสนสุภาษิต
bulletข่าวพระเครื่อง
bulletบทความพระเครื่อง
bulletThai Buddha Amulets
bulletข่าวพระพุทธศาสนา
bulletข่าวเครื่องรางของขลัง
bulletสาระพระเครื่องไทย
bulletประวัติพระวิปัสสนาจารย์




ประวัติพระปิดตา กับตำนานการสร้างพระปิดตาในประเทศไทย

พระปิดตากรุกำแพงเพชร
พระปิดตากรุกำแพงเพชร

ประวัติพระปิดตา กับตำนานการสร้างพระปิดตาในประเทศไทย
"พระปิดตา"
อายุเก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย...ยังไม่มีใครพิสูจน์ได้ว่าสร้างขึ้นในสมัยใด บางท่านเคยพบว่า พระปิดตางบน้ำอ้อยขนาดใหญ่เนื้อดินเผา อยู่ในกรุเมืองกำแพงเพชร แต่ว่ามีน้อยองค์และหายาก บางท่านว่าพระปิดตาพิชัย กรุคลองตะเคียน...กรุวัดประดู่ทรงธรรม...จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สร้างด้วยเนื้อดินผสมผงใบลานเผา น่าจะมีอายุเก่าที่สุดเพราะสืบได้ว่าสร้างใน สมัยกรุงศรีอยุธยายุคปลาย และมีให้เล่นหากันพอสมควร หรือบางท่านว่าอาจจะเป็น พระปิดตาท้ายย่าน จากกรุวัดท้ายย่าน จังหวัดชัยนาท เป็นพระปิดตาที่สร้างมาจากเนื้อแร่ดินพลวงผสมชิน ผู้รู้ว่าสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาเช่นกัน 

 

พระพุทธประติมาหินจำหลัก ในตำรากล่าวว่าในสมัยพุทธศตวรรษที่7 ศาสนาพุทธ ได้แพร่หลายเข้าไปในประเทศกรีก นายช่างจำหลักหินผู้มีฝีมือชาวกรีก ซึ่งเคยจำหลักเทพเจ้าต่างๆ จึงได้จำหลักรูปพระสัมมาสัมพุทธเจ้าขึ้นครั้งแรกด้วยหินอ่อนสีขาว ซึ่งมีมากในประเทศกรีก...ต่อมานายช่างชาวอินเดียแห่งแคว้นคันธาระ ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของประเทศอินเดีย ได้ไปขอถ่ายทอดฝีมือ จำหลักรูปองค์พระศาสดา ด้วยหินชนวนสีเทา มีความงดงามไม่แพ้กัน จึงเป็นพระพุทธรูปสลักหินครั้งแรกของประเทศอินเดีย ซึ่งพุทธศตวรรษที่7 เช่นกันเรียกว่า ศิลปะคันธาระ และพระพุทธรูปยุคนี้ เมื่อเข้ามาถึงประเทศไทย เราเรียกว่า พระพุทธรูปสมัยทวารวดี

 

พระพุทธรูปมีครั้งแรกในสมัยพุทธกาล

ท่านผู้รู้กล่าวว่าความจริงแล้ว พระพุทธรูปได้สร้างขึ้น ครั้งแรกในสมัยพุทธกาล...สร้างด้วยไม้แก่นจันทน์ ครั้งนั้นพุทธองค์จะเสด็จไปยังสวรรค์ดาวดึงส์ เพื่อไปโปรดพุทธมารดา... พระมหากษัตริย์ที่ครองชมพูทวีป อยู่ในครั้งนั้นชื่อ พระเจ้าพิมพิสาร หรือพระองค์ใดไม่แน่ชัด ได้ทูลขออนุญาตสลักไม้แก่นจันทน์เป็นรูปพระพุทธองค์ไว้เพื่อสักการบูชา ในระหว่างที่พระพุทธองค์ไม่อยู่...พระองค์ทรงอนุญาต

 

พระพุทธรูปไม้แก่นจันทน์แสดงปาฏิหาริย์

ในตำรามีพระพุทธรูป อยู่ปางหนึ่ง คือปางห้ามแก่นจันทน์ หรือเรียกเต็มๆว่า ปางห้ามพระพุทธรูปไม้แก่นจันทน์ เมื่อสมเด็จพระพุทธองค์ เสด็จกลับจากดาวดึงส์ แล้ว ก็คงเสด็จไปยังที่พำนักของพระองค์ แต่เดิมซึ่งบัดนั้นมี  พระพุทธรูปไม้แก่นจันทน์ ประดิษฐานอยู่  พระพุทธรูปไม้แก่นจันทน์ ได้แสดงปาฏิหาริย์ขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวได้คล้ายจะหลีกทางให้ พระพุทธเจ้า พระพุทธองค์ จึงได้ยืนและยกพระหัตถ์ซ้าย ขึ้นหงายฝ่ามือแบไปเบื้องหน้าเสมอพระอุระ...เป็นกิริยาห้ามไว้ ต่อมาประชาชนผู้ศรัทธาได้สร้างพระพุทธรูปปางนี้ไว้บูชาเพื่อความเป็นสิริมงคลเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ส่วนพระมหากัจจายนะ หรือ พระสังกัจจายน์ นิยมสร้างไว้เคารพบูชาในยุคหลังๆ และเปลี่ยนมาเป็นพระปิดตา...พระมหาอุตม์

 

พระปิดตาหินแกะ หลวงปู่จ้อย วัดบางช้างเหนือ
พระปิดตาหินแกะ หลวงปู่จ้อย วัดบางช้างเหนือ จ.นครปฐม
 

พระปิดตาหินอ่อน ประวัติการสร้างที่น่าสนใจมาก

มีพระปิดตาของพระเกจิอาจารย์รูปหนึ่งอยู่ที่จังหวัดนครปฐม สร้างไว้แปลกกว่าพระเกจิอาจารย์องค์อื่นๆคือสร้างด้วยหินอ่อน หรือชาวบ้านเรียกกว่าหินสบู่ มีหลายขนาดและหลายพิมพ์ทรงนั่นก็คือ พระปิดตาหลวงปู่จ้อย วัดบางช้างเหนือ หลวงปู่จ้อยท่านอายุยืนยาวถึง 80ปี (พ.ศ.2360-2440) ท่านได้สร้างวัตถุมงคลที่เป็นเอกลักษณ์ของวัดบางช้างเหนือ ไว้มากมาย โดยเฉพาะวัตถุมงคลที่ทำจาก ไม้ไผ่ ไม้รวก รากไม้ไผ่ รากไม้รวก หรือพระปิดตาที่แกะจากหินสบู่ หินอ่อน ท่านจะให้ศิษยืแกะเป็นองค์พระปิดตารูปลักษณะต่างๆ ทรงชะลูดบ้าง ต้อบ้าง หน้าเดียวบ้าง 2หน้าบ้าง มีมือ 2คู่ 3คู่ก็มี ขนาดพอดีแขวนคอ และพกติดตัว จากนั้นท่านก็นำมาจารยันต์มหาอุด แล้วจึงนำไปใส่ไว้ในบาตรรวมกัน ฤกษ์งามยามดี ท่านจะปลุกเสกให้มีอาการ 32 กระโดดออกจากบาตรมาเป็นใช้ได้ 

 

พระปิดตาเป็นพระเครื่องอีกรูปแบบหนึ่ง ที่คนนิยมกันมากในระยะหลัง เนื่องด้วยรูปแบบและกรรมวิธีการสร้าง พระปิดตา ในสมัยก่อนแรกๆจะไม่ค่อยมีคนสนใจเนื่องจาก มีความเชื่อกันมาก่อน เช่น มีพระปิดตาในบ้านแล้วคลอดลูกยากบ้าง มีพระปิดตา แล้วค้าขายของยากซึ่งเป็นความเข้าใจผิด พระเครื่องประเภทหนึ่งที่นิยมกันมาก ด้วยพุทธลักษณะขององค์พระที่แตกต่างทั้งกรรมวิธีการสร้าง รวมทั้งมีพุทธศิลปะ เป็นเอกลักษณ์แตกต่างจาก พระเครื่องประเภทอื่นๆ จนกลายเป็น ความโดดเด่น และได้รับความนิยมอย่างสูงยิ่ง ในหมู่พุทธศาสนิกชน โดยเฉพาะ วงการพระเครื่อง ซึ่งรู้จักกัน ในนาม "พระปิดตา" พุทธลักษณะของพระปิดตา เป็นรูปองค์พระ ที่ค่อนข้างอวบอ้วน ยกพระหัตถ์ ขึ้นปิดพระพักตร์ บางสำนัก ก็จะทำเป็นรูปมือ เพิ่มอีก ๒ ข้าง เอื้อมไปปิดทวารด้านล่าง (วงการเรียก "โยงก้น") อีกด้วย

 

พระปิดตาหลวงพ่อแก้วเนื้อผงคลุกรัก พิมพ์หลังแบบ
พระปิดตาหลวงพ่อแก้วเนื้อผงคลุกรัก


ประวัติการสร้างพระปิดตาในประเทศไทย นั้นเริ่มต้นในยุคอยุธยาตอนปลาย จากหลักฐานที่พบพระปิดตายุคแรกเป็นเนื้อโลหะ ได้แก่ พระปิดตากรุวัดท้ายย่าน อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท ต่อมาจึงมีการสร้างพระปิดตาเนื้อผงคลุกรักและพระปิดตาอื่นๆ เช่น พระปิดตาหลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ จ.ชลบุรี

 

การสร้างพระปิดตา เริ่มได้รับความนิยมแพร่หลายตั้งแต่ตอนต้นยุครัตนโกสินทร์เรื่อยมา มีพระเกจิอาจารย์หลายสำนักพากันจัดสร้างพระปิดตาขึ้นและได้รับความนิยมไปทั่ว เช่น พระปิดตาวัดพลับ (วัดราชสิทธาราม) พระปิดตาวัดหนัง พระปิดตาวัดทอง พระปิดตาหลวงปู่ศุข พระปิดตาแร่บางไผ่ และ พระปิดตาหลวงปู่ยิ้ม เป็นต้น

 

จากข้อมูลดังกล่าวอาจได้ข้อสรุปในเบื้องต้นว่า พระปิดตาทั้งหมดเป็นพระปิดตาคณาจารย์ ซึ่งหมายถึงพระเกจิอาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณเป็นผู้จัดสร้าง ไม่ใช่เป็นพระกรุที่สร้างโดยเจ้าพระยามหากษัตริย์ แม้แต่กรณีพระปิดตาท้ายย่านก็น่าจะจัดอยู่ในลักษณะเดียวกัน และไม่มีการสร้างก่อนสมัยอยุธยาตอนปลาย ลักษณะเด่นของพระปิดตา นั้นนับเป็นพระเครื่องที่แสดงถึง "นัย" หรือ "ปริศนาธรรม" แห่งงานพุทธศิลปะอย่างโดดเด่น ยากจะหาพระเครื่องประเภทใดเทียบเทียมได้ ความหมายเบื้องต้นแห่งการปิดตาก็คือ การปิด "ทวาร" หรือทางเข้าทางออกแห่งอาสวะกิเลสทั้งหลาย ซึ่งเราชื่อกันว่าร่างกายของมนุษย์ (หรือสัตว์) มี "ทวาร" หมายถึง ประตูแห่งการเข้าออก ๙ ทาง ได้แก่ ตา ๒ จมูก ๒ หู ๒ ปาก ๑ รวมทั้ง ช่องทางขับถ่ายด้านหน้าและ ด้านหลังอีก ๒ รวมเป็น ทวารทั้ง ๙

 

พระปิดตาหลวงพ่อกลั่น วัดเขาอ้อ พิมพ์มหาอุด 
พระปิดตาหลวงพ่อกลั่น วัดเขาอ้อ พิมพ์มหาอุด

การปิดกั้นทวารทั้ง ๙ เป็นปริศนาธรรมที่กั้นกิเลสจากภายนอกไม่ให้เข้ามาสู่ภายใน เพื่อจุดหมายแห่งการปฏิบัติกรรมฐาน ซึ่งโบราณาจารย์ที่สร้างพระปิดตา (หรือปิดทวาร) ในอดีตจะเป็นพระภิกษุที่ขึ้นชื่อลือเลื่องทางวิปัสสนาธุระทั้งสิ้น แต่การสร้างรูปจำลองในลักษณะนี้ ค่อนข้างยากต่อการออกแบบ ส่วนใหญ่จึงพบการแสดงความหมายให้เห็นเพียงการปิดพระพักตร์ ซึ่งรวมถึงการปิดปากเท่านั้น หากมองในแง่ความสำคัญทางการเมืองการปกครองจะพบว่า อำนาจของภิกษุสงฆ์ไม่ได้จำกัดอยู่ใน "พุทธจักร" อย่างเดียว หากแต่ยังก้าวไปถึง "อาณาจักร" อีกด้วย ตัวอย่างของบทบาทดังกล่าวจะเห็นได้ชัดในกรณี ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) วัดระฆัง ธนบุรี ที่สามารถเดินเข้าไปถาม เจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ ผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน ถึงข่าวลือเรื่องการยึดอำนาจกลับจาก ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๕ และขอคำยืนยันว่าจะไม่เกิดเหตุดังกล่าว หรือแม้แต่การที่ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ จุดไต้ตอนกลางวันเข้าไปเตือนพระสติ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ล้วนแล้วแต่แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของ "พุทธจักร" ที่มีต่อ "อาณาจักร" อย่างเด่นชัด

เป็นที่น่าสังเกตว่า พระเกจิอาจารย์ที่สร้างพระปิดตาในระยะแรกๆ จะมีส่วนเกี่ยวข้องกับราชสำนักไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง อาทิ สมเด็จพระสังฆราช (สุก ไก่เถื่อน) หลวงปู่ศุข หลวงปู่เอี่ยม หลวงปู่ทับ เป็นต้น

ดังนั้น "พระปิดตา" อาจถูกใช้เป็นสัญลักษณ์ของการประกาศตนไม่ยุ่งเกี่ยวกับ "อาณาจักร" เพื่อมิให้เกิดการถูกนำไปอ้างอิงหรือใช้เป็นเครื่อง "ชี้นำ" ในชะตาของบ้านเมือง ในระยะเวลาต่อมา คติการสร้างพระปิดตาหรือปิดทวารเกี่ยวเนื่องกันเรื่อยมา มีการจำลองเป็นพระอ้วนพุงพลุ้ย ซึ่งได้ต้นเค้าจากเรื่องราวของ พระสังกัจจายนะ หรือ พระภควัมบดี อัครสาวกองค์สำคัญของพระพุทธองค์ พระภควัมบดี หรือ พระมหาสังกัจจายน์ นั้น ไม่ใช่รูปสมมติแทนองค์สมเด็จพระสัมมาพุทธเจ้า คำว่า "ภควัมบดี" หรือ "ภควัมปติ" แปลว่า "ผู้มีความงามละม้ายเหมือนพระผู้มีพระภาคเจ้า" อันเป็นอีกนามหนึ่งของพระมหาสังกัจจายนะ หนึ่งในพระสาวกผู้ทรงเอกทัคคะ (เป็นเลิศ) ๘๐ รูป ของพระพุทธองค์

พระมหาสังกัจจายนะ เกิดในวรรณะพราหมณ์ ณ กรุงอุชเชนี มีผิวกายประหนึ่งทองคำมาตั้งแต่กำเนิด จึงได้นามว่า "กาญจน" และได้อุปสมบทโดยเป็นเอหิภิกขุอุปสัมปทา (พระพุทธเจ้าทำการบวชให้) พระมหาสังกัจจายนะท่านมีความเป็นเลิศทางการย่อพระธรรมคัมภีร์ให้สั้นลง และอธิบายความหมายให้ผู้ฟังเข้าใจได้อย่างละเอียดแจ่มแจ้ง นอกจากนี้ท่านยังมีรูปร่างและผิวกายงดงามมาก จนได้ชื่อว่า "พระภควัมปติ" อันมีความหมายว่า "ผู้มีความงามละม้ายเหมือนพระผู้มีพระภาคเจ้า" ความงดงามแห่งรูปกายนี้เองก่อให้เกิดความหลงใหลคลั่งไคล้จากฝูงชนทั้งชายหญิงจนเกิดเรื่องพิพาทกันไม่รู้จักหมดจักสิ้น ทำให้พระมหาสังกัจจายนะเกิดสลดสังเวชในใจพิเคราะห์ดูว่าการมีรูปกายงดงาม ก่อให้เกิดทุกข์มากมาย ท่านจึงตั้งสมาธิอธิษฐานเปลี่ยนสรีระรูปร่างกลายเป็นร่างต่ำเตี้ย พระอุทรพลุ้ย ศีรษะใหญ่ ขาสั้น อันเป็นลักษณะของ "พระสังกัจจายน์" ที่เห็นในปัจจุบัน แม้จะอธิษฐานเปลี่ยนสรีระแล้ว ผลแห่งกุศลในอดีตชาติยังส่งให้พระสังกัจจายน์เป็นที่รักใคร่นิยมยินดี มีแต่ผู้ให้ลาภสักการะสรรเสริญตลอดมามิมีขาด ด้วยความนิยมในพุทธสาวกองค์นี้ โบราณาจารย์จึงได้จำลองลักษณะแห่งพระภควัมบดีในรูปพระเครื่องศักดิ์สิทธิ์อันเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่น โดยแสดงความหมายที่สำคัญของพระภควัมปติ อันเป็นผู้มีความละม้ายเหมือนพระผู้มีพระภาคเจ้าในหลายลักษณะ อาทิ

- พระสังกัจจายน์ อันเป็นที่รักใคร่นิยมยินดีเปี่ยมไปด้วยลาภสักการะสรรเสริญ

- พระปิดตาทวารทั้ง ๙ อัน เป็นการปิดกั้นอาสวะกิเลสแห่งทวารเข้าออกทั้ง ๙ ของร่างกาย

- พระปิดตามหาอุด อันเป็นการป้องกันสรรพภยันตรายทั้งหลายทั้งปวง

ในกระบวนพระปิดตาของคณาจารย์แต่โบราณนั้น มีที่ขึ้นชื่อลือเลื่องหลายสำนักด้วยกัน วัสดุมวลสารที่นำมาประกอบเป็นองค์พระมีทั้งเนื้อชินตะกั่ว เนื้อผงคลุกรัก เนื้อผงใบลาน เนื้อผงมวลสาร เนื้อสัมฤทธิ์ เนื้อเมฆพัด เนื้อเมฆสิทธิ์ เป็นต้น

 

พระปิดตาแร่บางไผ่ หลวงปู่จัน วัดโมลี
พระปิดตาแร่บางไผ่ พระปิดตามหาอุตม์ หลวงปู่จัน วัดโมลี

- พระปิดตามหาอุดหรือพระปิดทวารทั้ง 9 กันดูบ้าง ความเป็นจริงพระปิดตา ที่มีมือคู่เดียวยกขึ้นมาปิดที่ใบหน้า และพระปิดทวารทั้ง 9 นั้นก็หมายถึงพระภควัมปติหรือพระภควัมบดี เช่นเดียวกัน และพระมหาสังกัจจายน์ ก็คือพระอรหันต์องค์เดียวกันนั่นเองครับ ตามประวัติว่ากันว่าพระมหาสังกัจจายน์นั้นมีรูปร่างงดงาม และได้รับคำชมจากพระบรมศาสดาว่า พระมหาสังกัจจายน์นั้นเป็นเอตทัคคะ และฉลาดล้ำเลิศในการอธิบายความแห่งคำที่ย่อได้อย่างพิสดาร ด้วยความฉลาดล้ำเลิศของพระมหาสังกัจจายน์นั่นเอง 

พระมหาสังกัจจายน์ ท่านเป็นผู้ที่มีผิวพรรณวรรณะงดงาม ตามพระบาลีว่า สุวณฺโณจวณฺณํ คือมีผิวเหลืองดังทองคำ เป็นที่เสน่ห์นิยม มิว่าท่านจะไปในสถานที่แห่งใด เทพยดาและมนุษย์ทั้งหลายต่างก็พากันสรรเสริญว่า ท่านคือ พระบรมศาสดาเสด็จมาแล้ว เพราะเหตุที่ท่านมีรูปโฉมละม้ายเหมือนพระศาสดานั่นเอง ท่านจึงได้รับสมญานามอีกชื่อหนึ่งว่า พระภควัมปติ ซึ่งมีความหมายทำนองว่า ผู้มีความงามละม้ายเหมือน พระผู้มีพระภาคเจ้านั่นเอง เมื่อเหตุการณ์เป็นไปดังนี้ ท่านจึงมาคิดว่า การที่เทพยดาและมนุษย์ทั้งหลายพากันสรรเสริญท่านดังนี้ เป็นการไม่สมควรอย่างยิ่ง สุดท้ายท่านจึงกระทำด้วยอิทธิฤทธิ์ เนรมิตกายให้เตี้ยลงจึงดูท้องพลุ้ย ไม่เป็นที่น่าดู เทพยดาและมนุษย์จะได้ไม่เกิดความเข้าใจผิดอีกต่อไป

ส่วนที่มีการทำ รูปเคารพเป็นรูปปิดทวารทั้ง 9 นั้น ก็คือมือคู่หนึ่งปิดหน้า คือปิดตา 2 ข้างปิดจมูก 2 ปิดปาก 1 และมีมืออีกคู่หนึ่งมาปิดที่หู 2 ข้าง ส่วนอีกมือคู่หนึ่งนั้นปิดที่ทวารทั้ง 2 รวมเป็นปิดทวารทั้งเก้า คือเป็นอุปเท่ห์หมายถึง ตอนที่พระภควัมปติท่านกำลังเข้านิโรธสมบัติ ทวารทั้งเก้าก็จะปิดสนิท ไม่ยินดียินร้ายกับกิเลสทั้งหลาย หมายถึงดับสนิท อาสวะกิเลสต่างๆ ไม่อาจที่จะเข้ามาแผ้วพานได้เลย จากมูลเหตุนี้เอง คณาจารย์ต่างๆ ท่านจึงสร้างรูปเคารพ เป็นรูปพระปิดตา (คือมีมือคู่เดียวมาปิดที่หน้า) บ้างเป็นรูปพระปิดทวารทั้งเก้าบ้าง และโดยส่วนใหญ่ถ้าเป็นพระปิดตาก็จะปลุกเสกให้เด่นไปทางเมตตามหานิยม โชคลาภโภคทรัพย์ แต่ถ้าเป็นพระปิดทวารทั้ง 9 ก็จะปลุกเสกให้เด่นไปทางอยู่ยงคงกระพันชาตรีและแคล้วคลาด พระปิดทวารทั้งเก้านั้นในสมัยโบราณ ถ้าบ้านไหนมีคนจะคลอดลูก ถึงกับต้องนำพระปิดทวารทั้งเก้าออกไปนอกบ้านเสียก่อน เชื่อกันว่าจะไม่สามารถคลอดลูกได้ก็มี ซึ่งเป็นความเชื่อกันในสมัยโบราณ

พระปิดทวารทั้งเก้า นั้นมีคติการสร้างมาตั้งแต่ครั้งไหน ยังไม่มีการสืบค้นไปถึงได้ มีพระปิดทวารทั้งเก้าเก่าๆ ที่ยังไม่มีใครทราบว่าเป็นของพระอาจารย์ท่านใดสร้าง แต่มีเนื้อหาความเก่าและได้รับตกทอดกันมานานแล้ว ก็มักจะเรียกกันว่าพระปิดทวารฯ เขมร ส่วนมากที่พบมักจะเป็นเนื้อโลหะ ประเภทสัมฤทธิ์ หรือโลหะผสม ออกจะเป็นทองเหลืองบ้าง เนื้อกลับดำบ้าง 

พระปิดตาพ่อท่านคลิ้ง วัดถลุงทอง
พระปิดตาพ่อท่านคลิ้ง วัดถลุงทอง

จนถึงปัจจุบันนี้ก็ยังไม่มีใครสามารถสืบค้นถึงที่มาได้ แม้แต่ในประเทศกัมพูชาเองก็ยังไม่แน่ว่าจะมีหรือสืบค้นเรื่องราวได้หรือ เปล่า เรื่องนี้เป็นเรื่องที่น่าศึกษาค้นคว้าดู พระปิดทวารฯ เขมรตามที่เขาเรียกกันนั้นของแท้ๆ จะมีเนื้อหาความเก่าแก่อย่างชัดเจน ทั้งศิลปะก็เป็นแบบเก่า เท่าที่พบจะเป็นพระลักษณะปั้นหุ่นเทียนเป็นองค์ๆ จะไม่มีองค์ใดซ้ำกันเลย

"พระปิดตาเนื้อโลหะ"ที่เก่าที่สุดและพอที่จะมี หลักฐานสืบค้นได้ก็คือพระปิดตาของกรุวัดท้ายย่าน ชัยนาท อายุราวสมัยกรุงศรีอยุธยา และพระปิดตาเนื้อดิน คือพระปิดตาพิชัย สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายทางใต้ก็มีพระปิดตานครศรีธรรมราชเป็นต้น ส่วนพระปิดทวารฯ เนื้อโลหะเท่าที่สืบค้นได้ว่าเป็นของพระอาจารย์ท่านใด ตำราการสร้างพระภควัมบดี

พระภควัมบดี หรือพระปิดตา

 สิทธิการิยะ... ตำรา"พระครูเทพ" แห่งกรุงศรีอยุธยา สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเกจิอาจารย์ได้ศึกษาสืบต่อกันมานับว่าเป็นของ วิเศษ ที่จะหาอะไรมาเปรียบได้ ฆราวาสก็ดี สมณะก็ดี ถ้าได้ทำตามตำราดังกล่าวนี้ จะทำให้มียศฐาบรรดาศักดิ์ เป็นใหญ่กว่าคนทั้งหลาย ท่านที่เคยทำมาแล้วก็จะได้เป็นใหญ่เป็นโตโดยทั่วกัน ถ้าผู้ใดต้องการให้ชีวิตตน มีความสุขความเจริญก้าวหน้า บังเกิดสิริสวัสดิ์พิพัฒนมงคลแก่ตน ทั้งปกป้อง คุ้มครองภยันตรายต่างๆ แก่ครอบครัว ตลอดจนวงศาคณาญาติ ให้ได้รับความสงบสุข ในโลกนี้ และโลกหน้า ขอให้ปฏิบัติตามตำรานี้

พระภควัมบดี หรือพระปิดตา

 ท่านว่า...ให้ขุดเอารากรักซ้อนมาตากแดดให้แห้งแล้วจ้างช่างฝีมือแกะ เป็นรูป พระภควัมบดี(พระปิดตา) สูงประมาณนิ้วครึ่งหรือหนึ่งนิ้ว แล้วเจาะใต้ฐานพระให้กลวง เพื่อบรรจุสิ่งต่อไปนี้ คือ ๑.ยอดรัก๒. ยอดสวาสดิ์ ๓. ยอดกาหลง อย่างละ ๓ ยอด ทั้ง๓ อย่างนี้ เอามาผสมกัน บดให้ละเอียด แล้วเอากระดาษว่าว (กระดาษข่อย) ห่อ พระธาตุพระฉิมพลี และพระธาตุพระสารีบุตร บรรจุรวมกับผง ใส่บรรจุใต้ฐานพระ  แล้วเอาชันโรง (ขี้สูด) ปิดฐานพระให้แน่น เพื่อมิให้สิ่งที่บรรจุเข้าไป หลุดออกมาได้ เมื่อเวลาจะทำต้องหาฤกษ์ ถ้าได้วันเสาร์ ๕ ยิ่งดี  เมื่อได้ฤกษ์แล้ว ให้ทำพิธียกครู มีดอกไม้รูปเทียน บายศรี เงินบูชาครู  และเครื่องสักการบูชา และมีเครื่องสังเวยเทพยดาด้วย คือ 

๑.หัวหมูพร้อมด้วยเท้าและหาง ๑ ตัว  ๒.เป็ดตุ๋น  หรือย่าง พร้อมด้วยเครื่องใน ๑ ตัว  ๓.ไก่ต้ม หรือย่าง พร้อมด้วยเครื่องใน  ๑ ตัว  ๔.ปูทะเลต้ม ๑ จาน ๕.กุ้งทะเลต้ม ๑ จาน  ๖.ปลาซ่อนแป๊ะซะ ๑ ตัว  พร้อมน้ำจิ้ม ๑ ถ้วย นอกจากนี้มีผลไม้อีก๕ อย่าง คือ  ๑.ส้ม  ๒.มังคุด ๓.องุ่น ๔.เงาะ ๕.แอปเปิ้ล และ ขนมหวานอีก๕ อย่าง มีถั่วคั่ว งาคั่ว นม เนย ฯลฯ เครื่องกระยาบวช เอาแหวน เงิน แหวนทอง ใส่ยอดบายศรี มีเทียนเงิน เทียนทอง จุดบูชา ๓ วัน นำไปไว้บน หิ้งพระ หรือโต๊ะหมู่บูชา แล้วทำการบูชาทุกเช้าค่ำ หากผู้ใดทำได้อย่างนี้จะล้ำเลิศประเสริฐนัก ปราศจากอันตรายทั้งปวง จะมีแต่ความสุขความเจริญยิ่งๆ ขึ้นไป
 

พระภควัมบดี ผงคลุกรัก

ถ้าเป็นทหารและไปในสนามรบ ให้เอาพระห่อผ้าใส่หัวไว้ จะแคล้วคลาดปลอดภัย แม้ ปืนจะยิงมาปานห่าฝน ก็มิถูกตัวเราเลย  ถ้าหากมีศัตรู ให้เขียนชื่อศัตรูลง ในกระดาษ แล้วเอาพระนั้นทับไว้ ศัตรูนั้นจะทำอันตรายเรามิได้เลย ถ้าต้องโทษถึงตายหรือถูกยึดทรัพย์ ให้เอาพระมาสรง น้ำ แล้วเอาน้ำนั้นมากิน มาอาบ โทษร้ายจะหายสูญสิ้นแล ถ้าโทษถูกเฆี่ยนตี  ให้ระลึกถึงพระแล้วจุดธูปเทียนถวายพระ บริกรรมภาวนา๓ คาบ จะไม่ถูกเฆี่ยนเลย ถ้าจำเป็นต้องถูกเฆี่ยน ให้กลั้นใจ หยิบเอาดินใส่กระหม่อม ถึงถูกตีก็ไม่เจ็บ 

ถ้าต้องการป้องกันโจรผู้ร้ายให้จุดธูปเทียนถวายพระ แล้วอธิษฐานจิตให้ปลอดภัย  ให้ทำเป็นประจำทุกวัน ภัย ๓ ประการ คือ โจรภัย อัคคีภัย อุทกภัย จะไม่เกิดขึ้น  หากผู้ใดได้ทำตามตำรานี้แล้วผู้นั้นจะมีชีวิตที่ ราบรื่น มีความสุขความเจริญ ก้าวหน้าในหน้าที่การงาน  ถ้าผู้ใดไม่เชื่อ  เสมือนเกิดมาไม่พบพระพุทธเจ้า ไม่พบพระพุทธศาสนา ผู้เป็นคนดีมีศีลธรรมจึง จะรักษาได้ คนพาลรักษาไม่ได้ (ถ้าหากจะเพิ่มความเข้มขลังยิ่งขึ้น ให้นำองค์พระ ปิดตานี้เข้าพิธีพุทธาภิเษก หรือขอบารมีพระเกจิอาจารย์ปลุกเสกเดี่ยวให้ ก็จะเป็นการเพิ่มอานุภาพพุทธคุณขึ้นอีกทางหนึ่ง) ตำรานี้เกจิโบราณาจารย์ศึกษาสืบต่อกันมาจากวัดประดู่ทรงธรรม  สมัยกรุงศรีอยุธยา...มาจนถึงทุกวันนี้

พระปิดตาทุกสำนัก พุทธคุณส่วนใหญ่จะโดดเด่นในด้านคงกระพัน มหาอุด จะมีบางเกจิอาจารย์ที่ท่านสร้างมาแล้วเด่นด้านเมตตมหานิยมและโชคลาภ
พระปิดตาเนื้อโลหะยอดนิยม ในวงการพระเครื่องเป็นที่ต้องการของนักสะสมกันมากก็คือ

พระปิดทวาร หลวงพ่อทับ วัดทอง
พระปิดทวารของหลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง 
พระปิดทวารของหลวงปู่จัน วัดโมลี
พระปิดทวาร หลวงปู่นาค วัดห้วยจระเข้
พระปิดทวาร วัดพะเนียงแตก พระปิดทวาร
หลวงพ่อปล้อง วัดหลุมดินเป็นต้น
พระปิดตากรุวัดท้ายย่าน พระปิดตา วัดท้ายย่าน จ.ชัยนาท
พระปิดตาวัดพลับ
พระปิดตาหลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ จังหวัดชลบุรี
พระปิดตาหลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง จังหวัดนนทบุรี
พระปิดตา หลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง
พระปิดตา หลวงปู่ทับ วัดทอง
พระปิดตาหลวงพ่อรอด วัดโคนอน กรุงเทพมหานคร
พระปิดตาหลวงพ่อปาน วัดเครือวัลย์
พระปิดตาหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า จังหวัดชัยนาท
พระปิดตาหลวงปู่ไข่ วัดเชิงเลน กรุงเทพมหานคร
พระปิดตาเมฆสิทธิ์ วัดอนงค์ กรุงเทพมหานคร
พระปิดตาวัดพลับ กรุงเทพมหานคร
พระปิดตาแร่บางไผ่ หลวงปู่จัน วัดโมลี
พระปิดตาห้วยจระเข้ จังหวัดนครปฐม
พระปิดตาบางเดื่อ จังหวัดนนทบุรี
พระปิดตาหลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก
พระปิดตา ผงกระดูกผี วัดโพธิ์ ท่าเตียน
พระปิดตาหลวงปู่เจียม วัดกำแพง ชลบุรี พระแบบปิดทวารทั้ง9 เนื้อผงคลุกรัก
พระปิดตาหลวงปู่ภู่ วัดนอก จังหวัดชลบุรี พระปิดตาเนื้อผงคลุกรัก หลังอุณาโลม
พระปิดตาหลวงปู่ครีพ วัดสมถะ (อุทยานนที) จังหวัดชลบุรี
พระปิดตาหลวงพ่อเชย วัดบางกระสอบ จังหวัดสมุทรปราการ
พระปิดตาหลวงปู่จีน วัดท่าลาดเหนือ จังหวัดฉะเชิงเทรา
พระปิดตาหลวงพ่อพิม วัดหนองแหน จังหวัดฉะเชิงเทรา
พระปิดตาหลวงพ่อโต วัดเนินสุทธาวาส มีทั้งเนื้อชินและเนื้อผง
พระปิดตาหลวงพ่อพลับ วัดใหม่พระยาธรรม
พระปิดตาหลวงปู่ยิ้ม วัดหนองบัว จังหวัดกาญจนบุรี
พระปิดตาหลวงปู่อิน อินทรโชโต วัดแหลมบน
พระปิดตาสมเด็จพระสังฆราช [อยู่] วัดสระเกศ
พระปิดตากรุวัดเงินคลองเตย
พระปิดตาหลวงพ่อแก้ว วัดปากทะเล เพชรบุรี
พระปิดตา หลวงปู่แช่ม วัดดอนยายหอม
พระปิดตาหลวงปู่กลิ่น วัดสะพานสูง
พระปิดตา หลวงพ่อทองสุข วัดสะพานสูง
พระปิดตา หลวงพ่อพิน วัดบางหัวเสือ
พระปิดตาหลวงพ่อดี วัดบ้านยาง
พระปิดตาหลวงพ่อโชติ วัดตะโน
พระปิดตาหลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี
พระปิดตามหาเสน่ห์ หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี 
พระปิดตา หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่
พระปิดตาหลวงพ่อครน วัดบางแซะ รัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย
พระปิดตาหลวงพ่อกล่อม วัดบางกระพี้
พระปิดตาอาจารย์เปิง วัดชินวนาราม จังหวัดปทุมธานี
พระปิดตาวัดโพธิ์เอน จังหวัดสระบุรี
พระปิดตา หลวงปู่ทอง วัดราชโยธา
พระปิดตาหลวงปู่เขียว วัดหลงบน
พระปิดตาพ่อท่านมุ่ย วัดป่าระกำเหนือ
พระปิดตาพ่อท่านคลิ้ง วัดถลุงทอง
พระปิดตาพ่อท่านแก่น วัดทุ่งหล่อ
พระปิดตาหลวงปู่จันทร์ วัดทุ่งเฟื้อ
พระปิดตาพ่อท่านไข่ วัดลำนาว
พระปิดตา ทองแดงเถื่อน เมืองนคร
พระปิดตาพังพกาฬ ทองแดงเถื่อน มีดอกจัน
พระปิดตาหลวงพ่อดิษฐ์ วัดปากสระ พัทลุง
พระปิดตาวัดแหลมทราย สงขลา
พระปิดตาเขาอ้อ พัทลุง
พระปิดตาอาจารย์เอียด วัดดอนศาลา
พระปิดตาอาจารย์คง วัดบ้านสวน
พระปิดตามหาลาภหลวงพ่อคล้อย วัดถ้ำเขาเงิน
พระปิดตากุมารในครรภ์ อาจารย์เจ๊ก วัดเขาแดงตะวัดตก พัทลุง
พระปิดตาอาจารย์นำ วัดดอนศาลา พัทลุง
พระปิดตา อาจารย์ปาน วัดเขาอ้อ

พระปิดตารุ่นปลดหนี้

พระปิดตาหลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี พระเครื่องที่โด่งดังมากที่สุดของ หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี ธนบุรี คือ พระปิดตา ซึ่งท่านได้สร้างไว้มากรุ่น ล้วนแต่มีประสบการณ์ ด้านเมตตามหานิยม และโชคลาภเป็นเลิศ เมื่อปี ๒๕๒๑-๒๕๒๓ ท่านได้สร้าง พระปิดตา เนื้อผงพุทธคุณ (สีเหลืองอ่อน) และเนื้อผงใบลาน (สีเทาดำ) หลายพิมพ์หลายขนาดด้วยกัน เรียกรวมๆ กันว่า พระปิดตารุ่น ๓ ไตรมาส เพราะหลวงปู่ได้ปลุกเสกตลอดพรรษา (หรือ ๓ เดือนซึ่งเท่ากับ ๑ ไตรมาส) ในช่วง ๓ ปีนั้น จึงเชื่อกันว่า พุทธคุณจะต้องเปี่ยมล้นองค์พระอย่างแน่นอน เมื่อแจกให้ศิษยานุศิษย์ นำไปใช้แล้ว ปรากฏว่าได้ผลจริงๆ คนที่มีหนี้ ก็หมดหนี้ คนที่ไม่มีหนี้ ก็มีเงินทองไหลมาเทมาอย่างเหลือเชื่อ รวมทั้งเรื่องโชคลาภ ดีเยี่ยมจริงๆ บรรดาศิษย์กลุ่มหนึ่ง จึงขนานนามพระปิดตารุ่นนี้เสียใหม่ว่า พระปิดตารุ่น ปลดหนี้... พอมีข่าวออกมาเช่นนี้ ทำให้ พระปิดตาหลวงปู่โต๊ะ รุ่นนี้โด่งดังกระหึ่มไปทั่ววงการ

ราคาเช่าหาจากองค์ละไม่กี่ร้อย ก็พุ่งแพงขึ้นเรื่อยๆ จนเป็นพระหลักพัน หลักหมื่นกันเลยทีเดียว โดยเฉพาะ พระปิดตารุ่นปลดหนี้ เนื้อผงเกสร หลังยันต์นะ แช่น้ำมนต์ เคยพุ่งขึ้นไปถึงเฉียดแสน แต่ราคาจริงในทุกวันนี้ อยู่ที่หลัก หมื่นกลางๆ ส่วน พระปิดตารุ่นปลดหนี้ เนื้อผงใบลาน (สีเทาดำ) หลังยันต์นะ ราคาจะถูกกว่ากัน ครึ่งหนึ่ง คืออยู่ที่หลักหมื่นต้นๆ และที่ถูกกว่านั้นอีกก็คือ พระปิดตารุ่นปลดหนี้ หลังยันต์ตรีนิสิงเห เนื้อผงใบลาน ที่เป็นอย่างนี้ ก็เนื่องมาจาก จำนวนสร้าง เป็นตัววัด คือพระที่มีน้อยราคาจะแพง ส่วนพระที่มีมากก็ถูกลงมา แต่...พระหลวงปู่โต๊ะ ไม่ว่า จะเป็นรุ่นไหน ในชั่วโมงนี้ ชนิดที่ต่ำกว่าพันมีน้อยมาก ส่วนใหญ่จะอยู่ที่หลักพัน กลางๆ แก่ๆ จนถึงหลักหมื่น ทั้งนั้น พระปิดตา รุ่นนี้มีหลายพิมพ์หลายเนื้อ ปลุกเสกพร้อมกัน พุทธคุณจึงย่อมเสมอเหมือนกันหมด หลวงปู่ คงไม่แยกว่า เนื้อเกสร ต้องลงให้มากหน่อย เนื้อใบลาน ลงพอประมาณ อะไรในทำนองนั้นอย่างแน่นอน ฉะนั้น ผู้ที่ชาญฉลาด จึงหันมาบูชา พระเนื้อใบลาน เพราะราคาถูกกว่า ส่วน พระเนื้อผงเกสร มีราคาแพง ก็เอาไว้ขาย เพราะกำไรดี

ที่มา...คมเลนส์ส่องพระ แล่ม จันท์พิศาโล จากหนังสือพิมพ์คมชัดลึก

พระปิดตาหลวงพ่อแย้ม วัดด่านสำโรงพระปิดตาหลวงพ่อแย้ม วัดด่านสำโรง 3พระปิดตาหลวงปู่แย้ม วัดด่านสำโรง

เปิดตำนานพระปิดตาหลวงพ่อแย้ม วัดด่านสำโรง เมื่อเอ่ยถึง หลวงพ่อแย้ม วัดด่านสำโรง ซึ่งอยู่ไม่ห่างไกลจากกรุงเทพฯ มากนัก คนในวงการพระต้องรู้จัก เพราะท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ผู้ขมังเวท วัดด่านสำโรง ตั้งอยู่ทางด้านฝั่งซ้ายริมคลองสำโรง ซึ่งอยู่ห่างจากประตูน้ำสำโรงประมาณ ๑.๕ กิโลเมตร เป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่งในคลองสำโรง เดิมเรียกกันว่า วัดด่าน เพราะที่ตรงนั้นเดิมเป็นด่านตรวจภาษี ต่อมาได้จัดตั้งเป็นวัดขึ้น ชาวบ้านในย่านนั้นจึงเรียกกันว่า "วัดด่าน" คำว่า วัดด่าน นั้น ถ้าพูดว่า วัดด่าน ก็จะบังเกิดความงุนงงสงสัย เพราะวัดด่านมีอยู่หลายแห่งด้วยกัน ไม่รู้จะเรียกอย่างไรถูก ว่าวัดไหนอยู่ที่ไหน วัดด่าน ต.บางโพงพางก็มี ต่อมาชาวบ้านเลยพากันเรียกว่า วัดด่านสำโรง อันเป็นที่ทราบกันดีว่า วัดด่านสำโรง เป็นวัดที่ หลวงพ่อแย้ม พระเกจิอาจารย์ที่มีความเชี่ยวชาญทางเวทมนตร์คาถาอยู่จำพรรษาที่นั่น จนตลอดอายุขัยของท่าน

 

หลวงพ่อแย้ม เป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีความเก่งกาจทางไสยเวท มีวิชาอาคมเข้มขลัง เชี่ยวชาญถึงขนาดชาวด่านสำโรงร่ำลือกันว่า ท่านสามารถย่นระยะทางได้อย่างน่าอัศจรรย์ เมื่อปี ๒๔๖๕ หลวงพ่อแย้มได้สร้างพระปิดตา เป็นเนื้อผงคลุกรักปิดทอง ด้านหลังอูมแบบหลังเบี้ย ท่านสร้างแจกจ่ายให้แก่บรรดาลูกศิษย์ลูกหา เนื่องในวาระอายุครบ ๘๐ ปี อิทธิวัตถุมงคลของท่านได้ผลหลายสิ่งหลายประการ และยังมี ผ้ายันต์ กับ ตะกรุด จนปรากฏเกียรติคุณไปทั่วทุกสารทิศ

 

ตำนานการสร้างวัตถุมงคล พระปิดตาเนื้อผงคลุกรัก หลวงปู่แย้ม สร้างจากผงวิเศษ ที่เขียนอักขระยันต์บนกระดานชนวน แล้วลบผงเก็บสะสมไว้ รวมกับผงอิทธิเจ ผงปถมัง ผงมหาราช ผงมหาเสน่ห์ ว่าน ๑๐๘ และผงใบลานเผาไฟ จากนั้นท่านก็เอามาคลุกเคล้าให้เข้ากันจนเป็น เนื้อเดียวกัน แล้วจึงเอารักลงเคล้าผสมนวดให้เข้ากันด้วยอาคม เมื่อเข้ากันดีแล้ว ท่านจะนำมากดพิมพ์ โดยจะกดเป็นองค์ปฐมฤกษ์ แล้วพระเณรก็ช่วยกันกดลงในแม่พิมพ์บ้าง ปิดทองคำเปลวบ้าง พระปิดตาหลวงพ่อแย้ม วัดด่านสำโรง นี้มีพิมพ์เดียวในตอนแรก เมื่อทำออกไม่ทันแจก ก็ไปยืมพิมพ์หลวงพ่อปาน วัดบางกระสอบมา ๑ พิมพ์ ดังนั้น พระปิดตา หลวงพ่อแย้ม จึงมีลักษณะคล้ายพระปิดตา หลวงพ่อปาน วัดบางกระสอบ มากทีเดียว ส่วนในด้านเนื้อหา พระปิดตาของหลวงพ่อแย้มจะค่อนข้างนวลกว่าของวัดบางกระสอบ โดยเฉพาะที่จุ่มรัก ยิ่งสังเกตได้ง่าย เป็นดำอมเทา หรือที่เรียกกันว่า เนื้อกะลามะพร้าว ก็เป็นชนิดกะลาไม่สู้จะแก่นัก ส่วนมากจะปิดทอง บางองค์ก่อนจะปิดทองก็ลงรักน้ำเกลี้ยงไว้ด้วย วัตถุมงคลของหลวงพ่อแย้ม เป็นที่ทราบกันดีโดยทั่วกันว่า มีพุทธคุณด้านเมตตามหานิยม คงกระพันชาตรีเป็นเยี่ยม ดังนั้นจึงมีชื่อเสียงกิตติคุณกระฉ่อนไปทั่วมุมเมืองทุกหนทุกแห่งอยู่ใน ปัจจุบัน หลวงพ่อแย้มนั้นนอกจากจะมีวิชาอาคมแล้ว ในด้านวิปัสสนาท่านก็เชี่ยวชาญยิ่ง สามารถรู้เหตุการณ์ล่วงหน้าได้เป็นอย่างดี เช่น 

 

ครั้งหนึ่งมีญาติโยมเจ็บไข้ได้ป่วย ได้ใช้ให้คนมานิมนต์ท่าน แต่ท่านกลับไม่รับนิมนต์ โดยบอกว่าไปก็ตาย ไม่ไปก็ตาย ครั้นเมื่อคนที่ถูกใช้ให้มานิมนต์หลวงพ่อกลับไปถึงบ้าน ในที่สุดคนเจ็บก็ตายจริงๆ อย่างท่านว่าไว้ทุกประการ เมื่อเวลามีงานวัด ไม่ว่าจะมีลิเกละครก็ตาม หลวงพ่อจะต้องไปลงกลองในวงพิณพาทย์ เมื่อลงเสร็จแล้วท่านจะตี ๓ ที รับรองได้ว่าคืนนั้นจะไม่มีเรื่องมีราวกันภายในงานวัดเด็ดขาด คนที่เข้ามาในงานวัดจะต้องมีเมตตาต่อกันหมด อันนี้ก็แสดงให้เห็นว่าท่านมีเมตตาจิตสูงส่งจริงๆ ท่านแผ่เมตตาให้แก่ทุกคนที่มาทำบุญเที่ยวงาน โดยไม่เลือกชั้นวรรณะ ทำให้ผู้คนรักใคร่สามัคคี ดังนั้น วัตถุมงคลของท่านจึงหนักไปในทางเมตตามหานิยมมากกว่าในทางอื่น พระปิดตาผงคลุกรักของท่านนั้นสร้างรุ่นเดียว ทำพิมพ์ขนาดเดียวกัน มีผู้ยืนยันว่า ทำพิมพ์เดียว และมีลักษณะเป็นพระปิดตาแบบองค์เท่าๆ กัน สันนิษฐานว่าอาจมีถึง ๓ พิมพ์ มีเรื่องประหลาดที่ผู้รู้เล่าให้ฟังว่า มีพระหนุ่มองค์หนึ่ง เป็นคนทรงหลวงพ่อแย้ม มีคนเคารพนับถืออย่างมาก เมื่อ หลวงพ่อแย้มมาเข้าทรง แล้วก็สร้างพระปิดตาเนื้อผงคลุกรักออกแจกจ่ายผู้ที่เคารพนับถือ ได้มีกำนันผู้หนึ่งไม่มีความนับถือ คิดว่าเรื่องเช่นนี้เป็นเรื่องเหลวไหล ไร้สาระ ไม่มีมูลความจริง จึงไม่สนใจอะไรทั้งสิ้น 

 

อยู่มาวันหนึ่ง กำนันผู้นั้นได้ไปทำธุระที่วัด เห็นพระหนุ่มรูปนั้นกำลังเข้าทรงอยู่พอดี กำนันก็เลยเข้าไปดูว่า ที่เขาร่ำลือว่าหลวงพ่อแย้มมาเข้าทรงนั้น เท็จจริงประการใด ขณะนั้นพระหนุ่มผู้เป็นร่างทรงหลวงพ่อแย้ม มองเห็นหน้ากำนันเท่านั้น ได้ชี้มือมาที่กำนันแล้วบอกว่า "เอ็งมาทำไม ไหนว่าเอ็งไม่นับถือข้าไงล่ะ" กำนันแกจึงนึกแปลกใจว่า เอ๊ะ ทำไมจึงรู้ได้ ก็เราเพียงคิดในอยู่ในใจเท่านั้น กำนันแกถึงกับนิ่งอึ้ง แล้วแกก็ได้เห็นมีผู้เอาตะกรุดมาให้ลงบ้าง เอาผ้ายันต์มาให้ลงบ้าง กำนันแกนึกแปลกใจว่า ปกติพระหนุ่มรูปนี้ไม่เคยเขียนอักขระขอมได้เลย ทำไมจึงเขียนอักขระขอมได้ และทำไมตอนทรงจึงเขียนได้ ดังนั้นความเชื่อจึงมีมาครึ่งหนึ่งแล้ว กำนันเล่าว่า ได้ขอเอาผ้ายันต์ที่เขาเอามาลง นำมาพิจารณาดู จึงจำได้ว่าเป็นลายมือของหลวงพ่อแย้มแน่ เพราะเคยเห็นเมื่อครั้งที่ท่านมีชีวิตอยู่ กำนันบอกว่า ถึงตอนนี้ก็เลยต้องเชื่อเต็มร้อยเปอร์เซ็นต์ว่าวิญญาณของหลวงพ่อมีจริง และยังเคยได้รับแจกมาหลายองค์ ส่วนเหรียญนั้น ลูกศิษย์สร้างแจกในงานศพท่าน ก็ยังมีอภินิหารไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าเหรียญดังๆ ทั้งหลายเหมือนกัน จึงนับเป็นอีกเหรียญหนึ่งที่น่าเสาะหาเป็นอย่างยิ่ง หลวงพ่อแย้ม ท่านมรณภาพในปี ๒๔๘๑ รวมสิริอายุได้ ๙๖ ปี แต่ชื่อเสียงเกียรติคุณความดีของท่านยังคุกรุ่นอยู่ในยุทธจักรพุทธาคม อย่างไม่มีวันที่จะลืมเลือน ดังจะเห็นได้จากประชาชนทั้งหลายที่พากันไปกราบไหว้บูชารูปหล่อที่ประดิษฐาน อยู่ที่ศาลา ตลบอบอวลไปด้วยกลิ่นธูปควันเทียน พร้อมทั้งบุปผามาลัยไม่ขาดสาย รูปหล่อองค์หลวงพ่อนั้น เหลืองอร่ามด้วยทองคำเปลว อันเป็นเครื่องสักการบูชา เพื่อรำลึกถึงความดีอันเป็นอมตะอยู่ตราบเท่าทุกวันนี้ ดังนั้น ใครมีพระปิดตาผงคลุกรักของหลวงพ่อแย้ม นับว่าโชคดีที่สุด เพราะพระท่านมีพุทธคุณด้านเมตตามหานิยมสูงนั่นเอง 

ข้อมูลจาก...ชั่วโมงเซียน : เปิดตำนานพระปิดตาหลวงพ่อแย้ม วัดด่านสำโรง (หนังสือพิมพ์คมชัดลึก)

เบญจภาคีพระปิดตาเนื้อโลหะ
1. พระปิดตา วัดท้ายย่าน จ.ชัยนาท
2. พระปิดตา หลวงปู่นาค วัดห้วยจระเข้ จ.นครปฐม
3. พระปิดตาแร่บางไผ่ หลวงปู่จัน วัดโมฬี จ.นนทบุรี
4. พระปิดตาหลวงปู่ทับ วัดทอง ธนบุรี
5. พระปิดตาหลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง ก.ท.ม

พระปิดตา วัดท้ายย่าน จ.ชัยนาท 
พระปิดตา วัดท้ายย่าน จ.ชัยนาท

 1.พระปิดตา วัดท้ายย่าน จ.ชัยนาท ถือว่าเป็นหนึ่งของพระปิดตาในชุดเบญจภาคี พระปิดตาเนื้อโลหะ (แร่พลวง) และถือได้ว่าเป็นพระปิดตาที่มีอายุการสร้างยาวนานและเก่าแก่ที่สุดครับ โดยพบที่ อ.สรรค์บุรี จ.ชัยนาท ในสมัยนั้น จ.ชัยนาทเป็นเมืองหน้าด่านในการรบทัพจับศึก คราวสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีภายหลังได้มีการเปิดกรุที่สรรค์บุรี พบพระลีลาเมืองสรรค์ พระสรรค์นั่งไหล่ยกและพระปิดตาวัดท้ายย่านอยู่ในกรุเดียวกันครับ สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างในสมัยเดียวกันครับ คนยุคเก่าเล่าขานว่าพระปิดตาท้ายย่านเด่นในทางคงกระพัน และแคล้วคลาด พร้อมด้วย มหานิยม

พระปิดตา วัดท้ายย่าน จ.ชัยนาท 

ไม่ว่าจะเป็นพิมพ์กบ พิมพ์เขียด พิมพ์ชีโบ และพิมพ์พิเศษ ที่มักจะหลงเข้าสนามพระมาสร้างความแปลกใจและความกังขาว่าใช่หรือไม่ใช่ แก่วงการนักนิยมสะสมพระปิดตาเป็นพักๆ นั้น ล้วนแล้วแต่เป็นพระปิดตาอีกกรุหนึ่งของวัดท้ายย่าน ซึ่งเคยเป็นและยังเป็นสุดยอดปรารถนาแม้ในปัจจุบัน ซึ่งกำลังหายากสุดๆ ทุกพิมพ์ เพราะเป็นที่ต้องการสุดๆ ดังเป็นที่รู้แก่ใจกันดียิ่งแล้วว่า เป็นเพราะเข้าใจและเชื่อกันเหลือเกินตั้งแต่เดิมว่าเป็น พระปิดตาที่สร้างขึ้นมาในรุ่นแรกๆ แม้จะยังไม่มีหลักฐานฟันธง ประการที่สองเป็นพระปิดตาสร้างขึ้นด้วยแร่พลวง อันเป็นเรื่องแปลกใหม่และสร้างความแปลกใจแก่วงการพระรุ่นเก่าก่อนที่คลั่ง ไคล้การเล่นแร่แปรธาตุ คือเป็นที่แปลกใจพอๆ กันกับพระปิดตาแร่บางไผ่ของหลวงปู่จัน วัดโมลี นนทบุรี แม้ยุคหลังพบอีกว่าได้พบพระปิดตาพุทธลักษณะและพิมพ์เดียวกับพระปิดตา วัดท้ายย่านเป็นเนื้อผงคลุกรักคล้ายสูตรผงหลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ ความนิยมในพระปิดตา

 

ตำนานการสร้างพระปิดตา กรุวัดท้ายย่าน จ.ชัยนาท ก็มิได้ลดหย่อนความนิยมลงไปแต่อย่างใด ยังคงตื่นตาตื่นใจอยู่เสมอทุกเมื่อเชื่อวันที่เจอของแท้ ปัญหามีอยู่ว่า พระปิดตา วัดท้ายย่าน เป็นพระปิดตารุ่นแรกๆ ที่นักวิเคราะห์หลายท่านให้ความเห็นว่า อายุ ความเก่าแก่ถึงสมัยอยุธยาตอนปลายๆ จริงหรือไม่? 

 

พระปิดตา กรุวัดท้ายย่าน


อย่างไรก็ดี คนรุ่นใหม่แม้จะเกิดไม่ทัน บางท่านก็มีทัศนะวิจารณ์ว่า น่าจะสร้างในสมัยรัตนโกสินทร์เป็นอย่างสูง ประมาณก่อนการสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ กำหนดยุคสมัยอยุธยา นักโบราณคดีรุ่นเก่าท่านให้ความรวมมาถึงสมัยกรุงธนบุรีด้วย ถ้าเชื่อตามนักโบราณคดี ก็เป็นไปได้ว่า พระปิดตา วัดท้ายย่าน สร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนปลาย แต่นักประวัติศาสตร์ที่มีอายุกว่า ๖๐ ปี ขึ้นไปเห็นว่า เมื่อกรุงศรีอยุธยาแตกแล้ว ก็หมายความว่า สิ้นสุดสมัยอยุธยา แม้ พระเจ้าตาก จะ ทำสงครามขับไล่พม่าไปได้ก่อนสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานี กรุงศรีอยุธยาก็เหลือแต่ซากปรักหักพัง ไม่มีกษัตริย์ปกครอง อยู่ในสภาพเมืองร้าง แล้วจะเอาข้อมูล และเหตุผลอะไรมากำหนดว่า ยังเป็นยุคสมัยอยุธยา

 

จึงน่าจะนับว่า เป็นยุคหลังกรุงศรีอยุธยาแตกดีกว่า และถ้ามีการสร้างพระปิดตาในช่วงระหว่างนี้ที่วัดท้ายย่าน จ.ชัยนาท ก็น่าจะถือว่า เป็นการสร้างสมัยหลังอยุธยาแตก ผิดตรงไหน? เหตุผลที่นักวิเคราะห์วิจารณ์อาวุโสท่านว่า พระปิดตา วัดท้ายย่าน สร้างในสมัยอยุธยา โดยทำเป็นไม่มองว่า หลังจากมีการเปิดกรุพระสถูปเจดีย์ต่างๆ แทบทั้งเมือง ไม่ปรากฏมีพระปิดตาแม้แต่พิมพ์เดียวนั้น เป็นเพราะว่าพระปิดตา วัดท้ายย่าน พิมพ์กบ, พิมพ์เขียด, พิมพ์ชีโบ แม้กระทั่งพิมพ์พิเศษ ล้วนแล้วแต่มีพุทธลักษณะแสดงศิลปะลูกผสม ซึ่งถูกกำหนดโดยนักโบราณคดีรุ่นก่อนอีกนั่นแหละว่า ลักษณะเช่นนี้ เป็นศิลปะสมัยอยุธยา และต่อมาก็ถูกแย้งว่าพุทธศิลป์แบบอยุธยา ขณะเดียวกัน ก็ไม่มีใครอาจหาญฟันธงลงไปอีกเหมือนกันว่า พระปิดตาวัดท้ายย่าน สร้างขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ ทั้งนี้เพราะว่าไม่มีหลักฐาน หรือว่ามีก็คงจะถูกทำลายไป โดยวิธีเพิกเฉย ไม่มีปฏิกิริยาที่จะบันทึกไว้ ตั้งแต่สมัยก่อนสงครามโลก


เช่นเดียวกับประวัติของ หลวงปู่จันทร์ ผู้สร้าง พระปิดตาแร่บางไผ่ วัดโมลี จ.นนทบุรี ต่อเมื่อพบว่า หลวงปู่จันทร์ ท่านยังได้สร้างพระชัยวัฒน์, พระปางนาคปรก, พระกริ่งเขมร จึงได้ทราบกันว่า แท้จริงประวัติของท่านถูกนักเขียนมือต่ำ ในสมัยรัตนโกสินทร์อำพรางไว้แต่ต้น หรือเพิกเฉย ทำให้คนรุ่นหลังขาดข้อมูลขั้นพื้นฐาน พระปิดตา วัดท้ายย่าน ก็เหมือนกัน เหตุที่ทำให้นักวิเคราะห์วิจารณ์หลายสำนักพิมพ์สงสัยว่า จะสร้างในสมัยรัตนโกสินทร์นั้น ประการแรก พระปิดตา วัดท้ายย่าน โดยเฉพาะ พิมพ์กบ ชัดเจนมากกว่า มีพุทธลักษณะและพิมพ์ทรงเหมือนพระปิดตา สมัยต้นรัตนโกสินทร์ คือ พระปิดตา วัดพลับ ทุกพิมพ์ ทุกเนื้อ


พระปิดตาหลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ ซึ่งมีชีวิตอยู่ช่วงปลายรัชกาลที่ ๒ เป็นต้นมาจนมรณภาพ กล่าวได้ว่า โดยเฉพาะพระปิดตาหลวงพ่อแก้ว พิมพ์หลังแบบ และพิมพ์หน้าเดียว หลังยันต์ทุกพิมพ์ เหมือนกับ พระปิดตา วัดท้ายย่าน พิมพ์กบ แทบไม่มีอะไรผิดเพี้ยน แม้ว่าจะมีการสร้างด้วยเนื้อแร่พลวงเป็นส่วนใหญ่ แต่ก็พบว่า พระปิดตา วัดท้ายย่าน พิมพ์กบ เนื้อผงคลุกรัก มีบ้างเหมือนกัน แม้ไม่มากนัก เพราะฉะนั้น แค่นี้ก็อาจแสดงว่า พระปิดตา วัดท้ายย่าน สร้างในสมัยรัตนโกสินทร์


เหตุผลแค่นี้ยังคงไม่พอที่ว่า พระปิดตา วัดท้ายย่าน ไปเหมือนพระปิดตา พิมพ์หลังแบบ ของ หลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ แทบทุกประการ แม้กระทั่งเนื้อหามวลสารนั้นยังไม่ถูกต้องทั้งหมดเสียเลยทีเดียว เพราะว่ามีข้อแตกต่างที่ชนิด หรือประเภทของพระปิดตา ซึ่งวงการพระเครื่องแยกแยะไว้ด้วยว่า ของหลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ โดยเฉพาะที่มีรูปทรงสามเหลี่ยม แต่ยอดจั่วมนทุกพิมพ์ เป็นพระปิดตาภควัมบดี หรือพัฒนาจาก พระกัจจายนะเถระ ปางที่มีรูปกายอ้วนเตี้ย พุงพลุ้ย เศียรโต และโล้นเหมือนพระสงฆ์ไทย แต่ พระปิดตา วัดท้ายย่าน พิมพ์กบ เป็นพระปิดตาแบบภควัมบดี เหมือนกัน หากแตกต่างตรงที่ด้านหลังองค์พระมีมืออีกคู่หนึ่ง ล้วงปิดทวาร จึงต้องตัดเป็นพระปิดตาแบบที่นิยมเรียกว่า พระปิดตามหาอุตม์

 

พระปิดตาแบบนี้ เชื่อกันทั้งวงการว่า สร้างในสมัยรัตนโกสินทร์ เพราะไม่พบในสมัยอยุธยา พระปิดตาที่ว่าเก่าแก่ที่สุดในสมัยรัตนโกสินทร์ ได้แก่ พระปิดตา มหาอุตม์แร่บางไผ่ และ เนื้อผงปูนขาว วัดพลับเป็นแบบภควัมบดี กับ พระปิดตา มหาอุตม์ แร่บางไผ่ จ.นนทบุรี

 

พระปิดตา วัดท้ายย่าน อันเป็นที่นิยมมีอยู่ ๓ พิมพ์ คือ ๑.พิมพ์ชีโบ องค์ พระประทับนั่งสมาธิขัดเพชร ยกพระหัตถ์ทั้งสองปิดพระพักตร์ พระเศียรปรากฏเป็นเส้นนูน คล้ายสวมหมวกชีโบ พระเมาลีเป็นต่อม จึงเรียกขานพิมพ์ทรงนี้ตามลักษณะพระเศียรว่า พิมพ์ชีโบ ด้านหลัง องค์พระปรากฏพระหัตถ์อีกคู่หนึ่ง เป็นเส้นจากพระอังสา ลากลงมาล้วงลงปิดส่วนท้าย ในลักษณะปิดทวาร บริเวณพระศอด้านหลังปรากฏเส้นพระศอ ทำเป็นจุดเม็ดไข่ปลา ล่างลงมาเป็นอักขระตัว "อุ" ๒.พิมพ์กบ เนื่องจากรูปพรรณสัณฐานองค์พระ มีลักษณะคล้าย "กบ" เมื่อมองจากด้านหลังองค์พระ จึงเป็นจุดเด่นในการขานพิมพ์ทรง แม้จะมีความพยายามเปลี่ยนชื่อเป็น พิมพ์เศียรโล้น แล้วก็ตาม แต่นักสะสมพระเครื่องยังคงเรียกกันว่า พิมพ์กบ อยู่นั่นเอง ด้านหน้า องค์พระประทับนั่งขัดสมาธิเพชร ยกพระหัตถ์ทั้งสองขึ้นปิดพระพักตร์ ไม่ปรากฏรายละเอียดพระเศียร หากใช้รูปโค้งมนแสดงให้เห็นว่า เป็นส่วนของพระเศียรจากพระนลาฏ (หน้าผาก) ขึ้นไปเป็นพระเศียรปรากฏพระหัตถ์อีกคู่หนึ่งยกขึ้นปิดพระกรรณ (หู) ด้านหลังปรากฏพระหัตถ์ทั้งสองข้าง ล้วงลงปิดทวารหนักและเบา พระเศียรที่ปรากฏกลมเกลี้ยงนูนเด่น ๓.พิมพ์เขียด องค์พระประทับนั่ง ขัดสมาธิเพชร มีพุทธลักษณะที่คล้ายคลึงกับพิมพ์ชีโบ และด้านหลังปรากฏอักขระขอม ตัว "อุ" เช่นเดียวกัน หากแต่ส่วนของพระเศียรมีลักษณะยอดแหลมยาวกว่า และมีขนาดเล็กกว่า

 

2.พระปิดตาหลวงปู่นาค สร้างพระปิดตามหาอุตม์ เนื้อเมฆพัด เมื่อ พ.ศ. 2432 ซึ่งเป็นปีเดียวกับที่หลวงปู่นาคได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ หลวงปู่นาคท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านการสร้างเนื้อเมฆพัดมาก การผสมเนื้อแร่ต่างๆ การปั้นพิมพ์ และการเทหล่อองค์พระท่านทำด้วยตัวท่านเอง องค์พระที่ท่านหล่อออกมาสวยงาม ไม่มีรอยตะเข็บ ไม่เป็นฟองอากาศ เนื้อพระเป็นสีดำอมเขียว สีดำเงาคล้ายปีกแมลงทับ สวยงามพิสดาร เนื้อพระผิวตึง สมบูรณ์แบบด้านรูปทรง ว่ากันว่า "หลวงปู่นาค" กับ"หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว" มีความสนิทสนมกัน เป็นสหธรรมิกรุ่นน้อง(หลวงปู่นาค มีอายุมากกว่าหลวงปู่บุญ 35 ปี) และมีการแลกเปลี่ยนวิชาซึ่งกันและกันด้วย โดยหลวงปู่บุญขอเรียนวิชาการสร้างเนื้อเมฆพัดไปจากหลวงปู่นาคส่วนหลวงปู่นาค ก็ได้ขอเรียนวิชาอื่นจากหลวงปู่บุญไปเป็นการแลกเปลี่ยน สำหรับหลวงปู่บุญท่านได้ก็สร้างพระเนื้อเมฆพัดขึ้นจำนวนหนึ่ง ซึ่งพระเนื้อเมฆพัดของหลวงปู่บุญที่ท่านสร้างเองลักษณะเนื้อจะเหมือนๆ ของหลวงปู่นาคมากผิดกับเนื้อเมฆพัดพิมพ์กลีบบัว และพิมพ์ปิดตาที่วางตามสนามทั่วๆ ไป ซึ่งเป็นพระที่สั่งทำจากโรงงานมาปลุกเสกทีหลัง

  

พระปิดตาหลวงปู่นาค วัดห้วยจระเข้ จ.นครปฐม

 พระปิดตาหลวงปู่นาค วัดห้วยจระเข้ จ.นครปฐม

 

ในการสร้างพระปิดตาของหลวงปู่นาคท่านสร้างหลายครั้งด้วยกัน สร้างไปเรื่อยๆตามแต่จะมีโอกาส พระปิดตาของท่านจึงมีประมาณ 4-5 พิมพ์ นับแล้วพระปิดตาห้วยจระเข้ก็มีอายุร่วมๆ หนึ่งร้อยปีเห็นจะได้ เอกลักษณ์ของพระปิดตาห้วยจระเข้นอกจากจะดูพิมพ์เป็นหลักแล้ว พระปิดตาห้วยจระเข้จะต้องมีการลงเหล็กจารทุกองค์ด้วย ในการลงเหล็กจารนั้นมีเรื่องเล่ากันว่าหลวงปู่นาคท่านนำเอาพระปิดตาที่สร้างเสร็จแล้วไปลงเหล็กจารที่ท่าน้ำข้างๆ วัด โดยท่านจะนำลงไปจารอักขระใต้น้ำ เมื่อจารเสร็จแล้วก็จะปล่อยให้พระปิดตาลอยขึ้นมาเหนือน้ำเองโดยมีลูกศิษย์ที่อยู่บนฝั่งคอยเก็บ ถ้าพระปิดตาองค์ไหนลงจารแล้วไม่ลอยน้ำขึ้นมา แสดงว่าพระปิดตาองค์นั้นไม่มีพลังพุทธคุณ อันอาจจะเกิดอักขระวิบัติจากการจารอักขระก็ได้

 

4. พระภควัมบดี...พระปิดตาหลวงปู่ทับ วัดทอง ธนบุรี

"พระปิดตา หลวงปู่ทับ วัดทอง" ในแวดวง ผู้นิยมพระเครื่อง มีความเชื่อว่าอัดแน่น ด้วยสรรพมงคล อันขลัง ไม่แพ้ "พระปิดตา วัดหนัง ของเจ้าคุณเฒ่า" 
"วัดทอง” หรือ "วัดสุวรรณาราม" ตั้งอยู่ริมคลองบางกอกน้อยฝั่งตะวันตก เขตบางกอกน้อย กทม. เป็นวัดเก่าแก่สร้างมาตั้งแต่สมัยอยุธยา อดีตเจ้าอาวาสที่โด่งดังสุดกู่ในหมู่นักเลงพระเครื่องมาหลายสมัย คือ พระครูเทพสิทธิเทพาธิบดี หรือที่รู้จักกันในนาม “หลวงปู่ทับ” เป็นชาวบางกอกน้อยโดยกำเนิด เกิดในยุคใกล้เคียงกับหลวงปู่เอี่ยม วัดหนังแต่อ่อนกว่า ๑๔ ปี หลังจากหลวงพ่อทับได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาส ต่อจากหลวงพ่อเนียม (พระครูวิมลปัญญาจาร) เมื่อ พ.ศ.๒๔๕๐ ในปีเดียวกันนั้นเองก็ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น "พระครูเทพสิทธิเทพาธิบดี" ก็ได้เริ่มสร้างพระภควัมบดีหรือพระปิดตาเลื่องลือในด้านพุทธคุณและพุทธศิลป์ อันงามเลิศ ยากที่จะหาพระปิดตาองค์ใดในยุครัตนโกสินทร์เทียบได้

 

พระเครื่องที่หลวงพ่อทับสร้าง เนื้อหามักจะเป็นเนื้อโลหะ ได้แก่ เนื้อสำริด ซึ่งแยกออกดังนี้ เนื้อสำริดแก่ทอง สำริดแก่เงิน เนื้อขันลงหิน เนื้อทองผสม เนื้อทองแดงเถื่อน เนื้อชินเงิน ชินตะกั่ว ชินผสมแร่ และเนื้อเมฆพัตร์ แต่จะเขียนเฉพาะเนื้อหาที่นิยมกันมาก อันได้แก่ เนื้อสำริดเงิน สำริดทอง และเนื้อเมฆพัตร์ ซึ่งในวงการพระเครื่องถือว่าเป็นเนื้อมาตรฐาน ส่วนพุทธลักษณะท่านก็ได้สร้างไว้หลายแบบหลายพิมพ์ แต่ก็มีจุดเด่น และโครงสร้างเป็นเอกลักษณ์ของท่านเอง ดังจะขอยกตัวอย่างไว้เพื่อเป็นแนวทางสำหรับการพิจารณาศึกษากันต่อไป

 

พระปิดตามหาอุตม์ที่หลวงพ่อทับสร้างขึ้น ส่วนมากมักจะเป็นแบบลอยองค์นั่งขัดสมาธิเพชร พระหัตถ์ที่ล้วงปิดทวาร จะล้วงลงทางด้านในไม่ผ่านหน้าแข้ง จึงทำให้เห็นกิริยาลักษณะที่ขัดสมาธิเพชรเด่นชัด หรือจะเรียกว่าเป็นแบบโยงก้นด้านในก็ดูจะเหมาะสมดี ด้านข้างองค์พระไม่ปรากฏรอยตะเข็บเลย เพราะท่านสร้างโดยวิธีปั้นหุ่นด้วยเทียนขี้ผึ้งทีละองค์แล้วจึงใช้ดินเหนียว ประกอบด้านนอก จากนั้นจึงใช้โลหะที่หลอมละลายเทหยอดทางก้นหุ่น เนื้อโลหะที่ร้อนจัดจะทำให้เทียนสลายตัวสำรอกออกทางรูที่เจาะไว้ เหลือแต่เนื้อโลหะเป็นรูปองค์พระแทน นอกจากจะไม่ปรากฏรอยตะเข็บแล้ว พระมหาอุตม์วัดทองจะไม่เหมือนกันเลยทั้งรูปองค์ และลวดลายของอักขระยันต์ ถึงแม้จะเป็นพระที่มีลักษณะเดียวกัน หรือพิมพ์เดียวกันอย่างเช่นพิมพ์เศียรโตยันต์ยุ่ง พิมพ์เศียรบายศรี พิมพ์ยันต์ย่อง พิมพ์ตุ๊กตา ซึ่งต่างก็มีพุทธลักษณะเหมือนกันทุกองค์ มิฉะนั้นเราจะเปรียบเทียบแบ่งแยกพิมพ์ได้อย่างไร แต่ที่ว่าทุกองค์ไม่เหมือนกันนั้นคือ ไม่เหมือนแบบถอดออกมาจากบล็อกเดียวกันเหมือนกันทุกกระเบียดนิ้ว ถ้าเจอชนิดนั้นก็เป็นของเก๊ครับ

 

เมื่อ พ.ศ.๒๕๒๕ ผู้เขียนเคยขอยืมพระปิดตาวัดทองเศียรบายศรีจากเพื่อนฝูงมาถึง ๖ องค์ ทุกองค์มีลักษณะคล้ายกัน แต่ไม่มีองค์หนึ่งองค์ใดเหมือนกันชนิดถอดพิมพ์ออกมาจากบล็อคเดียวกันเลย บางองค์เส้นยันต์จะเพี้ยนไปบ้าง หางของอักขระบางองค์จะสั้นกว่าอีกองค์หนึ่ง ลายเส้นเล็กบ้าง ใหญ่บ้าง แม้รูปองค์พระบางองค์จะเขื่องกว่าองค์อื่นๆ ก็ปรากฏอยู่บ่อยๆ เพราะเหตุผลดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ว่าท่านสร้างตามแบบโบราณ ปั้นหุ่นทีละองค์ พอได้ ๖-๗ องค์ก็เทหล่อเสียทีหนึ่ง เมื่อเทหล่อแล้วหุ่นก็เสียเลย จะสร้างขึ้นอีกก็ต้องปั้นหุ่นใหม่ ดังนี้ ถ้าท่านผู้อ่านพบว่าพระปิดตามหาอุตม์วัดทอง จะเป็นพิมพ์ใดก็ตามที่มีเหมือนกันหลายองค์ ดังหล่อออกมาจากแม่พิมพ์เดียวกัน จงเชื่อได้เลยว่าเป็นของฝีมือผีทำขึ้น เป็นของปลอมแน่นอน

 

การกำหนดเลขยันต์ที่จะบรรจุลงบนพระนั้น หลวงพ่อท่านจะเลือกอักขระที่เหมาะสมมีความหมาย มีอำนาจแห่งพุทธาคม บรรจุลงตามส่วนต่างๆ ขององค์พระ เว้นช่องไฟได้เหมาะเจาะสวยงามลึกซึ้งจับตาจับใจ สมกับเป็นฝีมือของท่านนักปราชญ์ ผู้มีจินตนาการอันล้ำเลิศบรรลุถึงฌานสมาบัติชั้นสูงนั่นเชียว จะหาผู้อื่นใดมาลอกเลียนสร้างให้เหมือนได้ยาก นอกเสียจากใช้วิธีถอดพิมพ์ แต่วิธีนี้ก็ยังมีพิรุธให้จับได้ เช่น รอยตะไบตกแต่งเพื่อลบรอยต่อข้างองค์พระ เส้นอักขระจะลดความคม และไม่เหมือนเส้นขนมจีน แต่ของปลอมเส้นยันต์ จะเหมือนกับเส้นหวายที่ผ่าครึ่งซีก และดูกระด้าง ไม่มีชีวิตชีวา ไม่มีความซึ้ง

 

นอกจากการพิจารณาเอาความเรียบร้อยขององค์พระเป็นหลักใหญ่แล้ว ยังจะต้องศึกษาทางด้านเนื้อหาควบคู่กันไป เนื้อพระปิดตาวัดทองที่มีค่านิยมสูง อันได้แก่ เนื้อสำริดเงิน ซึ่งปัจจุบันนี้เป็นวัตถุมงคลอันมีค่าหาชมได้ยาก อย่าว่าแต่จะหาไว้เป็นสมบัติของตนเลย พระปิดตาหลวงพ่อทับที่ท่านสร้างจากเนื้อสำริดเงินนี้ ผิวนอก มีวรรณะแดงปนทองคล้ายสีนาค ถ้าใช้แว่นขยายส่องดูจะเห็นเป็นเกล็ดสีทองแพรวพราวทั้งองค์ ส่วนตามซอกที่เราสัมผัสไม่ถึง จะมีประกายทองผิวปรอทจับอยู่ประปราย ส่วนด้านที่นูนเด่นถูกจับต้องอยู่เสมอ จะปรากฏผิวคราบดำอมเทาเคลือบอยู่อีกชั้นหนึ่ง แลดูงามซึ้งยากที่จะบรรยายได้ เนื้อหาที่นิยมรองลงมาได้แก่เนื้อสำริดแก่ทอง พระปิดตาที่ท่านสร้างจากเนื้อนี้ตามซอกขององค์พระจะปรากฏผิวสีทองปนนากจับ ประกาย และมีสนิมเขียวแทรกซึมอยู่ทั่วไป ผิวเนื้อด้านนอกจะเป็นสีน้ำตาลเข้มเกือบดำ ส่วนด้านที่ไม่ได้ถูกเหงื่อ สีจะออกเป็นสีทองจางๆ คล้ายจำพวกขันลงหิน แต่เข้มกว่า ผิวโลหะจะตึงเรียบและมีน้ำหนักกว่าเนื้อชนิดอื่น

 

เนื้อทองผสม เป็นเนื้อที่มีค่านิยมด้อยกว่าสองชนิดที่กล่าวมาแล้ว การทำปลอมก็ทำได้ง่ายแต่ยังมีข้อสังเกตได้คือ ของแท้เนื้อพระจะแห้ง ถ้าส่องด้วยแว่นขยายจะเห็นเป็นเกร็ด คล้ายโรยไว้ด้วยทรายทองมีผิวคราบน้ำตาลอ่อนจับอยู่เป็นแห่งๆ ตามซอกองค์พระจะปรากฏผิวไฟสีออกซีดๆ จับอยู่ประปรายและแห้งสนิท ทางด้านความเรียบร้อยก็เหมือนกับพระเนื้ออื่นๆ


เนื้อเมฆพัตร์ เป็นเนื้อที่นักนิยมสะสมรุ่นโบราณนิยมกันมาก ถือว่าเนื้อมีความวิเศษอยู่ในตัว เป็นเนื้อศักดิ์สิทธิ์ สีขององค์พระจะออกสีน้ำเงินอมดำ ผิวตึงเป็นประกายสวยงาม แต่เปราะ ถ้าทำตกหรือถูกกระทบกับของแข็งจะชำรุดแตกหักได้ง่าย เนื้อเมฆพัตร์จะพบมาก ในพระปิดตาพิมพ์เศียรบายศรี พิมพ์เศียรโต และพิมพ์ยันต์น่อง ผู้เขียนสังเกตพบว่า พระปิดตาเนื้อเมฆพัตร์นี้ ความคมชัดสู้เนื้อพระที่สร้างจากเนื้อสำริดไม่ได้


ส่วนที่ทำเทียมจากเนื้อเมฆพัตร์นี้ก็พบอยู่เสมอ แต่สีจะจืดกว่าของจริง น้ำหนักเบากว่าและดูสดกว่ามาก นับว่าเป็นข้อสังเกตได้อีกวิธีหนึ่ง เนื้อชินเงินผสมแร่ เป็นเนื้อพระปิดตาหลวงพ่อที่พบน้อยมาก ท่านสร้างไว้ในสมัยแรกๆ และสร้างจำนวนน้อยองค์ ความสวยงามและความเรียบร้อย ออกจะด้อยกว่าเนื้อพระชนิดอื่น ผิวจะย่น ไม่ตึง ปรากฏพรุนทั้งองค์ ตามซอกจะปรากฏสนิมสีน้ำตาลจับอยู่ทั่วไป เนื้อพระคล้ายเนื้อแร่บางไผ่ ผิดกันตรงที่ไม่มีเสี้ยนให้เห็น น้ำหนักเบากว่าเนื้อพระชนิดอื่น มีความเปราะมาก ถ้าตกจะแตกเป็นเสี่ยงๆ ทันทีและเป็นเนื้อที่ติดแม่เหล็กด้วย สนนราคาและค่านิยมเป็นรองเนื้อสำริดเงิน แต่สูงกว่าเนื้อเมฆพัตร์ ในด้านพุทธคุณแล้วเสมอเหมือนกันหมด เป็นพระปิดตาที่เราท่านควรหาไว้ ถ้ามีกำลังเงินพอไม่มีคำว่าผิดหวังเลยเป็นอันขาด


5. พระปิดตาหลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง ก.ท.ม

หลวงปู่เอี่ยมวัดหนัง ท่านเริ่มสร้างพระปิดตาขึ้น ครั้งแรกประมาณปี พ.ศ.๒๔๓๖ เมื่อคราวเกิดวิกฤตการณ์ ร.ศ.๑๑๒ เรือรบประเทศ ฝรั่งเศสเข้ามาปิดอ่าวสยาม และได้สร้างขึ้นอีก ๒ ครั้ง คือเมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ ๑ (พ.ศ.๒๔๕๘-๒๔๖๑) และ เมื่อคราวบูรณะเขื่อนหน้าวัด พ.ศ.๒๔๖๓

 

พระปิดตาและพระปิดทวารของหลวงปู่เอี่ยมวัดหนัง แบ่งออกได้ ๔ แบบคือ

๑.พระปิดตาไม้แกะ อุดชันนะโรง

๒.พระปิดตาเนื้อสัมฤทธิ์และเนื้อตะกั่ว พิมพ์ยันต์ยุ่ง

๓.พระปิดตาและพระปิดทวารเนื้อตะกั่วผสมดีบุก

    ๓.๑ พระปิดตา พิมพ์"ข้าวตอกแตก"

    ๓.๒ พระปิดทวาร พิมพ์ "สังฆาฏิ"

    ๓.๓ พระปิดทวาร พิมพ์ "นะหัวเข่า"

๔.พระปิดตาและปิดทวารเนื้อผง

    ๔.๑ พระปิดตา พิมพ์ "ข้าวตอกแตก" เนื้อผง

    ๔.๒ พระปิดตาพิมพ์ "สังฆาฏิ" เนื้อผงใบลาน

    ๔.๓ พระปิดทวาร พิมพ์นะหัวเข่า เนื้อผงคลุกรัก และเนื้อผงใบลาน


เบญจภาคีพระปิดตาเนื้อผง

สุดยอดเบญจภาคีพระปิดตาเนื้อผง หรือที่เรียกขานกันมาแต่โบราณว่า "ปิดตาหัวเสือ"ในกระบวนพระปิดตาเนื้อผงที่ได้รับ ความนิยมมากที่สุดของนักสะสมพระปิดตา ทั้งเซียนยุคเก่าเซียนยุคใหม่และนักสะสมพระปิดตาทั้งหลาย ที่อยากได้ไว้ในครอบครองนั้นก็เพราะไม่ว่าจะเป็นกรรมวิธีในการสร้าง หรือ ศิลป์ ตลอดจนพระพุทธคุณนับเป็นที่เชื่อถือได้มากแต่ครั้งปู่ย่าตายายว่า สุดยอดและหายากยิ่งนักครับ ได้แก่


1. พระปิดตา หลวงพ่อแก้ว วัดเคลือวัลย์ จ.ชลบุรี

2. พระปิดตาหลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง จ.นนทบุรี

3. พระปิดตาหลวงปู่ไข่ วัดเชิงเลน (วัดบพิตรพิมุข) กทม.

4. พระปิดตาหลวงปู่ยิ้ม วัดหนองบัว จ.กาญจนบุรี

5. พระปิดตาหลวงปู่จีน วัดท่าลาด จ. ฉะเชิงเทรา

 

ปฏิทินชุดพระปิดตา ของ ท่านไชยทัศน์
ปฏิทินชุดพระปิดตา ของ ท่านไชยทัศน์

 

 

1. พระปิดตา หลวงพ่อแก้ว วัดเคลือวัลย์

นับเป็นจักรพรรดิ ของพระปิดตาและเป็นหนึ่งในสุดยอดเบญจภาคี พระปิดตาเนื้อผงครับ หลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ ท่านเกิดที่ จ.เพชรบุรี เมื่อปี 2337 ครอบครัวของท่านประกอบอาชีพชาวประมง ในระหว่างที่ท่านได้บวชเรียนอยู่นั้น ท่านได้แสดงให้ครูบาอาจารย์และเพื่อนๆ ได้ประจักษ์ว่า ท่านเป็นผู้มีสติปัญญาชั้นเลิศ สามารถศึกษาศาสตร์ทุกแขนงได้อย่างรวดเร็วและ แตกฉาน ต่อมาในปี 2364 ท่านได้ธุดงค์มาแถบฝั่งชายทะเลตะวันออกและได้ปักกลดในที่แห่งหนึ่งใน จ.ชลบุรี ซึ่งสมัยนั้นเรียกกันว่า "บางปลาสร้อย" มีภูมิประเทศเป็นป่ารก ชาวบ้านในถิ่นฐานย่านนั้นส่วนมากการศึกษาน้อยเพราะห่างไกลความเจริญ ประกอบกับโรงเรียน ที่จะใช้ศึกษาหาความรู้ไม่เพียงพอที่จะให้เด็กๆ ได้ศึกษาเล่าเรียน โรงเรียนที่ว่าในสมัยก่อนก็คือ "วัด" นั่นเอง ท่านจึงตัดสินใจบูรณะ ซากปรักหักพังของวัดร้างแห่งหนึ่งด้วยความร่วมมือร่วมใจขอชาวบ้านย่านนั้นเป็นอย่างดี เมื่อสำเร็จลุล่วงแล้วท่านได้ตั้ง ชื่อว่า "วัดเครือวัลย์" โดยถือเอาลักษณะภูมิประเทศแถบนั้นที่มีเถาวัลย์หรือเครือเถาปกคลุมอยู่อย่างมากมาย พระเครื่องพิมพ์พระปิดตาที่ท่านสร้างทิ้งไว้เป็นมรดก ของลูกหลานในปัจจุบันถือเป็นสุดยอดของพระปิดตาที่หาค่ามิได้ มีอยู่ 2 เนื้อคือ เนื้อผงคลุกรักหรือทารักมีทั้งพิมพ์ใหญ่ กลาง เล็ก หลังแบบ และหลังเรียบ ปิดตาชุดนี้ถือเป็นสุดยอดพระปิดตาอันดับ 1ของเมืองไทย พุทธาคมในพระปิดตาหลวงพ่อแก้วนี้ สุดที่จะหาผู้ใดเปรียบเทียบได้มีประสบการณ์สูงทั้งทางเมตตามหานิยม แคล้วคลาดอันตราย ทั้งปวงครับ

 

2. พระปิดตา ล.ป เอี่ยม วัดสะพานสูง

ท่าน เป็นผู้เปี่ยมไปด้วยเวทย์มนต์ อาคมขลังท่านได้สร้างตะกรุดมหาโสฬสมงคล และพระปิดตาของท่านอันถือได้ว่าเป็นหนึ่งในยุทธจักรของจอมขมังเวทย์ ซึ่งมีผู้มีประสบการณ์ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน สุดที่จะหาที่เปรียบมิได้ พระปิดตาของท่านได้ใช้ว่าน 108 ที่เป็นมงคลนาม และว่านที่มีอานุภาพคงกระพันศักดิ์สิทธิ์ในตัวมาเป็นส่วนผสมสร้างพระร่วมกับ ผงพุทธคุณ ส่วนตัวประสาน พระปิดตา ท่านได้ใช้ชันยาเรือมาตำปนคลุกเคล้ากันไปในเนื้อหามวลสารของพระด้วย ท่านได้กล่าวไว้กับลูกศิษย์ในสมัยนั้นว่า "ชันยาเรือที่พายไปบิณฑบาตรโปรดสัตว์" มีความสำคัญยิ่งถือว่าเป็นมหาอุตม์ เวลา เรือรั่วที่ใดก็อุดตรงนั้น นับได้ว่าเป็นชันมงคลอาถรรพณ์ วัตถุอีกชนิดหนึ่ง ครับ

หลวงปู่เอี่ยมท่านเกิดเมื่อปีฉลู พ.ศ.2359 ที่บ้านแหลมใหญ่ ฝั่งใต้ข้างวัดท้องคุ้ง อำเภอปากเกร็ด นนทบุรี โยมบิดาชื่อ นาค โยมมารดาชื่อ จันทร์ พอท่านอายุได้ 22 ปีก็อุปสมบทที่วัดบ่อ ตำบลปากเกร็ด หลังจากอุปสมบทได้ 1 เดือนท่านก็ย้ายมาจำพรรษาอยู่ที่วัดกัลยาณมิตร ซึ่งขณะนั้นพระพิมลธรรมพร เป็นเจ้าอาวาส หลวงปู่เอี่ยมท่านได้ศึกษาพระปริยัติธรรม และแปลพระธรรมบทอยู่ที่วัดนี้ถึงเกือบ 7 พรรษา ท่านจึงย้ายมาจำพรรษาอยู่ที่วัดประยุรวงศาวาส ในปี พ.ศ.2388 ต่อมาในปี พ.ศ.2396 ญาติโยมพร้อมด้วยชาวบ้านภูมิลำเนาในคลองบ้านแหลมใหญ่ (ซึ่งปัจจุบันนี้คือคลองพระอุดม) นนทบุรี ได้เดินทางมาอาราธนาหลวงปู่เอี่ยมให้กลับไปปกครองวัดสว่างอารมณ์ (ปัจจุบันคือวัดสะพานสูง)

 

สาเหตุที่เปลี่ยนชื่อวัดสว่างอารมณ์เดิมมาเป็นชื่อวัดสะพานสูงนั้นมีเรื่อง เล่าต่อๆ กันมาว่า ในสมัยนั้นสมเด็จกรมพระยาวชิรญาณวโรรส ท่านได้เสด็จไปตรวจการคณะสงฆ์ได้เสด็จไปขึ้นที่วัดสว่างอารมณ์นี้ ได้ทอดพระเนตรเห็นสะพานข้ามคลองหน้าวัด มีความสูงมากอยู่ และชาวบ้านก็มักจะเรียกวัดสว่างอารมณ์นี้ว่า วัดสะพานสูง สมเด็จกรมพระยาวชิรญาณวโรรสทรงเห็นว่า สะพานสูงนี้เป็นนิมิตดีประจำวัดประการหนึ่ง และอีกประการหนึ่งชาวบ้านก็นิยมเรียกกันติดปากว่าวัดสะพานสูง จึงได้ประทานเปลี่ยนชื่อวัดสว่างอารมณ์มาเป็น "วัดสะพานสูง" จนทุกวันนี้ เมื่อหลวงปู่เอี่ยมมาปกครองวัดสะพานสูงใหม่ๆ มีพระจำพรรษาอยู่เพียง 2 รูปเท่านั้น ขณะที่หลวงปู่เอี่ยมท่านได้ย้ายมาอยู่ที่วัดสะพานสูงได้เพียง 8 เดือน ก่อนวันเข้าพรรษา หลวงพิบูลย์สมบัติ บ้านท่านอยู่ปากคลองบางลำพู ได้เดินทางมานมัสการหลวงปู่เอี่ยม หลวงปู่เอี่ยมได้ปรารภถึงความลำบากด้วยเรื่องการทำอุโบสถ และสังฆกรรม เนื่องจากสถานที่เดิมทรุดโทรมมาก จึงอยากจะสร้างถาวรสถานให้แก่วัด เพื่อความเจริญรุ่งเรือง หลวงพิบูลย์ สมบัติท่านจึงได้บอกบุญเรี่ยรายหาเงินมาเพื่อก่อสร้างโบสถ์ และถาวรสถานขึ้น

 

จึงสันนิษฐานว่าหลวงปู่เอี่ยมท่านจึงสร้างพระปิดตาและตะกรุดเป็นครั้งแรก เพื่อเป็นของชำร่วยแก่ผู้บริจาคทรัพย์และสิ่งของที่ใช้ในการก่อสร้างพระ อุโบสถและถาวรสถานในครั้งนั้น ต่อมาในปี พ.ศ.2431 ก็ได้สร้างศาลาการเปรียญ และอีก 8 ปี ก็สร้างพระเจดีย์ฐาน 3 ชั้น ในขณะที่หลวงปู่เอี่ยมท่านจำพรรษาอยู่ที่วัดสะพานสูงก็ได้ออกธุดงค์อยู่เสมอ โดยจะมีพระลูกวัดติดตามได้ด้วย โดยท่านจะให้พระลูกวัดออกเดินทางไปก่อน 6-7 ชั่วโมง แล้วหลวงปู่ท่านจะตามไปทีหลัง แต่ท่านก็ตามไปทันตามจุดนัดพบทุกครั้ง หลวงปู่เอี่ยมท่านสำเร็จวิชาโสฬสมงคล และเชี่ยวชาญวิชากรรมฐาน ท่านได้สร้างวัตถุมงคลไว้แจกแก่ศิษย์หลายอย่าง เช่น พระปิดตาเนื้อผงคลุกรัก มีพิมพ์ชะลูด พิมพ์ตะพาบ และพิมพ์พนมมือ อีกทั้งตะกรุดมหาโสฬสมงคล ซึ่งตะกรุดของท่านนี้ก็หายากและเป็นที่นิยมกันมาก นับเป็นตะกรุดอันดับหนึ่งของเมืองไทยเลยทีเดียวครับ หลวงปู่เอี่ยมท่านมรณภาพในปี พ.ศ.2439 สิริอายุได้ 80 ปี พรรษาที่ 59

 

3. พระปิดตาหลวงปู่ไข่ วัดบพิตรพิมุข หรือวัดเชิงเลน กทม.

หลวงปู่ไข่ ภูมิลำเนาเดิมอยู่แปดริ้ว หรือ จ.ฉะเชิงเทรา เกิดที่บ้านประตูน้ำท่าไข่ เมื่อปี พ.ศ.2400 ท่านร่ำเรียนพระธรรมวินัยได้ระยะหนึ่ง แล้วจึงฝากตัวเป็น ศิษย์หลวงปู่จีน ผู้เรืองวิทยาคมด้านไสยเวท ที่วัดท่าลาดเหนือ ท่าศึกษาเล่าเรียนจนชำนาญเชี่ยวชาญไม่แพ้ศิษย์รุ่นพี่ซึ่งเป็นพระเกจิชื่อ ดังอาทิ หลวงพ่อแก้ว หลวงพ่อปาน และหลวงพ่อเจียม เป็นต้น ต่อมาท่านออกธุดงค์ไปตามป่าเขาเพื่อแสวงหาความรู้และฝึกฝนวิทยาคมเพิ่มเติม จนเมื่อปี พ.ศ.2445 ท่านจึงเดินทางเข้ากรุงเทพฯ จำพรรษาที่วัดเชิงเลน หรือวัดบพิตรพิมุข จากนั้นเป็นต้นมา 7-8 ปีให้หลัง กุฏิหลวงปู่ไข่ก็เนืองแน่นไปด้วยผู้เลื่อมใสศรัทธา พอปี พ.ศ.2460 วัตถุมงคลของท่านก็เริ่มออกสู่สายตาผู้มานมัสการเป็นครั้งแรก แต่ละครั้งที่ท่านสร้างจะมีจำนวนไม่มากนัก โดยยึดหลักว่า “หมดแล้วทำใหม่” ท่านมรณภาพเมื่อปี พ.ศ.2474 วัตถุมงคลที่ได้รับความนิยม มีด้วยกัน 3 ชนิดใหญ่ ๆ คือ พระปิดตา เหรียญรูปไข่ และพระอรหังกลับบัว สำหรับพระปิดตาเนื้อผงคลุกรักของท่าน เริ่มสร้างมาตั้งแต่เมื่อประมาณปี 2460 เป็นต้นมา ส่วนเหรียญรูปไข่สร้างในคราวทำบุญอายุครบ 6 รอบ ส่วนพระอรหังกลีบบัว เป็นพระเนื้อดินผสมผง มีทั้งเคลือบและไม่เคลือบ เนื้อผงคลุกรักนับว่าเป็นพระปิดตาที่หาได้ยากองค์หนึ่งและเป็นหนึ่งในยุทธจักรของ พระปิดตามหามงคล หลวงปู่ไข่ท่านเป็นพระที่สมถ รักสันโดด มีความเมตตาต่อสานุศิษย์ทุกคนแม้กระทั่ง เหล่าเจ้าขุนมูลนายในสมัยนั้นก็ได้ฝากตัวเป็นศิษย์กับท่าน หลวงปู่ไข่เป็นพระคณาจารย์ผู้มีพระเวทย์วิทยาคมสูงถือว่าเป็นหนึ่งในชุดพระ ปิดตา มหามงคล เนื้อผงคลุกรักครับ

 

4. พระปิดตาพ่อเฒ่ายิ้ม วัดหนองบัว

การสร้างพระปิดตา เนื่องจากหลวงปู่พ่อเฒ่ายิ้ม มีวิชาอาคมมาก เพราะศึกษามาหลายสำนัก ท่านจึงสร้างผงวิเศษไว้มากพอสมควร ครั้นได้ฤกษ์งามยามดีท่านก็แกะแม่พิมพ์ ด้วยหินมีดโกน เป็นแบบปิดตา และพระสังกัจจายน์ แล้วสร้างเป็นพระพิมพ์ โดยแบ่งพิมพ์ทรงออกเป็น 4 พิมพ์คือ พิมพ์ใหญ่นิยม หรือพิมพ์ชะลูด พิมพ์นี้องค์พระจะมีสัณฐานสูงชะลูดชาวบ้าน เรียกคิดปากว่า "พิมพ์ยืด" ส่วนสูงของพิมพ์นี้ประมาณ 2.5 ซ.ม. ลักษณะของ องค์พระเป็นรูปลอยองค์พระหัตถ์สองข้างปิดพระเนตร ประทับนั่งขัดสมาธิราบ พระเพลา (ส่วนขา) เหยียดตรงติดกัน จนมีลักษณะคล้ายฐานเขียงไม่ปรากฏการซ้อนพระชงฆ์ (แข้ง) แต่อย่างใด รายละเอียดอื่น ๆ ไม่ปรากฏชัดเจนส่วนด้านหลังจะเป็นแบบหลังปาดเรียบ

 

พิมพ์พระสังกัจจายน์ พิมพ์นี้ชาวบ้านจะเรียกว่า พิมพ์พุงป่อง หรือ พิมพ์อุ้มท้อง ส่วนใหญ่จะเป็นพระเนื้อผง ที่มีวรรณะค่อนข้างจะออกขาวอมเหลือง มีความแห้งจัด องค์พระจะมีความสูง ประมาณ 1.2 ซ.ม. ลักษณะของพิมพ์ดูแตกต่างจากพิมพ์ชะลูดโดยชัดเจน มีลักษณะการใช้พระหัตถ์ที่ประสานเหนือตักในท่านั่งสมาธิรับกับช่วง พระชานุ (เข่า) จะเป็นมุมสามเหลี่ยมไม่มีลักษณะของฐานเขียง ปรากฏแต่อย่าใด

 

พิมพ์แข้งซ้อน พระพิมพ์นี้มีส่วนสูงประมาณ 2 ซ.ม. ฐานกว้างประมาณ 1.5 ซ.ม. ลักษณะขององค์พระเป็นรูปลอยองค์แบบครึ่งซีก พระหัตถ์ทั้งสองข้างยกปิดพระเนตรอย่างกลมกลืน ไม่ปรากฏนิ้วมือ ประทับนั่งสมาธิราบ พระเพลา ข้างขวาทับพระเพลาข้างซ้ายแต่ส่วนปลายของพระเพลาขวากลับชี้ขึ้น จนมีลักษณะเหมือนกับยกแข้ง จึงมองดูคล้าย "แข้งซ้อน" และเท่าที่พบเห็น พระส่วนมาก จะมีปีกเกินด้านหลังจะอูมนูนคล้ายกับหลังเบี้ย มวลสารวรรณะจะมี สีเทาอมเขียว

 

พิมพ์โบราณ พระพิมพ์นี้จัดได้ว่าเป็นการสร้างพระเครื่องรุ่นแรก ๆ ของท่านเท่าที่พบส่วนมากจะมีลักษณะคล้ายพระปิดตาพิมพ์ยืดและพิมพ์พระสังกัจจายน์ ซึ่งเป็นคนละพิมพ์กันกับพระพิมพ์นิยมและพระพิมพ์ ส่วนมากจะเป็นเนื้อผงคลุกรัก ด้านหลังจะเป็นแบบหลังปาดเรียบ สำหรับผู้ที่ไม่ชำนาญในเรื่องของพระเครื่อง หลวงปู่เฒ่ายิ้ม จะไม่ขอแนะนำให้สะสม ถือว่าเป็นเกจิอาจารย์องค์หนึ่งที่เสด็จพ่อกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ได้ฝากตัวเป็นศิษย์ พ่อเฒ่ายิ้มเป็นพระที่เปรี่ยมด้วยเมตตามหานิยมได้มีผู้กล่าวเล่ากันไว้ว่า ท่านไม่เคยดุด่าว่าใคร เพราะท่านเป็นพระที่มีวาจาสิทธิ์ ท่านจึงมักจะไม่พูด มีแต่จะยิ้มให้เมตตาสานุศิษย์สมกับชื่อของท่านว่า "ยิ้ม" พระของท่านเด่นในทางเมตตา มหานิยมและแคล้วคลาด ครับ


5. พระปิดตา หลวงปู่จีน วัดท่าลาด

ประวัติโดยย่อ พระปิดตาหลวงปู่จีน วัดท่าลาด จ.ฉะเชิงเทรา

วัดท่าลาด สันนิษฐานว่าสร้างในราวปี พ.ศ.2396 โดยพระยาท่านหนึ่งจากเขมร และได้นิมนต์หลวงปู่จีนซึ่งเดินธุดงค์ผ่านมาพอดี ให้เป็นเจ้าอาวาสจึงนับได้ว่าท่านเป็นเจ้าอาวาสองค์แรกของวัดท่าลาด ท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ที่ทรงวิทยาคมและเชี่ยวชาญด้านไสยเวท ที่สำคัญท่านเป็นพระอาจารย์ของพระเกจิที่มีชื่อเสียงหลายรูป อาทิ หลวงพ่อแก้ว หลวงพ่อปาน และหลวงพ่อโต เป็นต้น พระปิดตาหลวงพ่อจีน จะมีลักษณะของพระกรรณอย่างเด่นชัด ซึ่งความจริงคือกระจังหน้าครอบพระเศียร มีทั้งเนื้อหยาบและเนื้อละเอียด และเท่าที่พบเห็นจะไม่มีการลงจารอักขระเลขยันต์ เป็นพระประเภทพระเนื้อผงคลุกรัก จุ่มรักคล้ายกับหลวงปู่เจียม วัดกำแพง อายุการสร้างร้อยกว่าปี พุทธคุณก็เด่นทางเมตตามหานิยมเช่นกัน และพระปิดตาของท่านนั้นมีด้วยความศักดิ์สิทธิ์มากครับ คนฉะเชิงเทรา หวงกันมาก

 

พระปิดตาทั้งหมดที่ได้กล่าวมานี้เป็นพระปิดตาที่หาได้ยากยิ่ง ควรค่าแก่การอนุรักษ์ครับ พุทธคุณ เด่นในด้าน เมตตามหานิยม แคล้วคลาด คงกระพันชาตรี อายุการสร้างยาวนานนับร้อยปี

ส่วนพระคาถาที่มีนิยมใช้อาราธนาพระปิดตา

นะโมพุทธัสสะ คะวัมปะติสสะ

นะโมธัมมัสสะ คะวัมปะติสสะ

นะโมสังฆัสสะ คะวัมปะติสสะ

สุขา สุขะ วะรัง นะโมพุทธายะ

มะอะอุ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา เจวะ เสกขา ธัมมา ยะธาพุทโมนะ ฯ

" เป็นโภคทรัพย์ เจริญด้วยโชคภาลเมตตามหานิยม "

.......................

พระคาถาพิมพ์พระภควัมปติ "ปิดตา"

ควัมปติ จะ มหาเถโร มหาโภโค มหาลาโภ เชยยะสิทธิเม

โลกุตตะโร จะ มหาเถโร อะหัง วันทามิตัง สะทา ควัมปติ จะ มหาเถโร มหาโภโค มหาลาโภ เชยยะสิทธิเม

อ้างอิงรูปและบทความเพิ่มเติมจาก ....

ชั่วโมงเซียน"ป๋อง สุพรรณ"-พระปิดตาวัดท้ายย่านจ.ชัยนาทตำนานแห่งพระปิดตา ...หนังสือพิมพ์คมชัดลึก

.............................................................................




บทความพระเครื่อง

พระรูปหล่อพ่อท่านคล้าย วัดปากจัง review แท้&ปลอม
บทความเหรียญพ่อท่านคล้าย น้ำตกพริ้ว จันทบุรี แท้&ปลอม
เหรียญหลวงพ่อคล้าย วัดสวนขัน รุ่นแจกแม่ครัว (แท้-เก๊)ศึกษาและสะสม
วิธีดูเหรียญหลวงปู่ทวด วัดดีหลวง จ.สงขลา รุ่นแรก ปี05
เหรียญหัวแหวน หลวงปู่ทวด วัดช้างให้ ทำเนียบหัวแหวนหลวงพ่อทวดรุ่นต่างๆ
บทความเกี่ยวกับแหวนพ่อท่านคล้าย วัดสวนขันรุ่นต่างๆที่นิยม
พระเบญจภาคี ปรกใบมะขามภาคใต้ สุดยอดพระเครื่องเมืองใต้
พระกำแพงขาโต๊ะ เนื้อชินตะกั่วสนิมแดง พระกรุเมืองกำแพงเพชร
พระกริ่งธรรมสามิตร วัดมกุฏกษัตริยาราม ปี 2511
รูปหล่อท้าวเวสสุวรรณ เจ้าคุณศรีสนธิ์ วัดสุทัศน์ 2492
เหรียญหลวงพ่อลา วัดแก่งคอย รุ่นแรก
แขวนเดี่ยวพระอะไรดี ? คำตอบคือ
เหรียญยันต์เกราะเพชร รุ่นแรก ศูนย์พุทธศรัทธา ปี26
ประวัติ หลวงปู่ศรี มหาวีโร วัดป่ากุง
ราคาพระเครื่องปัจจุบัน ราคาพระมีปัจจัยอะไรบ้าง
ร้านพระเครื่องออนไลน์ ให้เช่าพระเครื่อง สะดวกปลอดภัยหรือไม่ article
หลวงปู่ทวด ภ.ป.ร. พระดีน่าสะสม โดยพุทธสมาคม
พระเครื่องล้านนา รวมพระล้านนาที่นิยมโดยเฉพาะ พระกรุล้านนา
พระเครื่อง เหรียญหลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่ ราคาสูงมาก
ข้อมูลพระเครื่อง สำหรับผู้นิยมสะสมพระ article
พระสมเด็จบางขุนพรหม พิมพ์ใหญ่
พระสมเด็จวัดบางขุนพรหม article
เหรียญมหาลาภ หลวงพ่อพรหม วัดช่องแค จ.นครสวรรค์
เหรียญหลวงพ่อหรุ่น เก้ายอด วัดอัมพวัน
เหรียญหลวงปู่จันทร์ วัดศรีเทพ รุ่นแรก ปี 2500
พระบูชาหลวงพ่อโสธร ปี 2497
พระกริ่งชินบัญชร หลวงปู่ทิม อิสสริโก วัดละหารไร่
ประวัติท้าวเวสสุวรรณ ตำนานท้าวเวสสุวัณ มีกำเนิดจากหลายตำนาน
พระกรุวัดเงิน คลองเตย
ยอดพระเครื่องเมืองพิจิตร
พระแก้วจุยเจีย รัตนชาติ พระกรุฮอด
ราคาพระสมเด็จ กับกลุ่มนักสะสมพระสมเด็จ
ข้อสังเกตพระวัดปากน้ำ พระผงของขวัญ(หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ)
เสี้ยนพระ กับ เซียนพระ ต่างกันอย่างไร
เหรียญหลวงปู่ทวดหลังพ่อท่านคล้าย ออกวัดหน้าพระธาตุ ปี 2508
เหรียญหลวงพ่อทวด หลัง หลวงพ่อคล้าย รุ่นเบตง ปี 2505
รูปหล่อ หลวงพ่อคล้าย วัดสวนขัน หล่อโบราณ รุ่นหลังคู้
ประวัติ พระเครื่อง หลวงพ่อคล้าย วาจาสิทธิ์ วัดชุมพรรังสรรค์
เหรียญ พ่อท่านคล้าย พิมพ์หัวใจใหญ่ วัดพระธาตุน้อย ปี 2505
ศึกษาเรื่องพระเครื่อง การศึกษาด้านพระเครื่องตามหลักสากลนิยม article
กำเนิดพระพิมพ์ พระพิมพ์ทวาราวดี พระพิมพ์ซุ้มพุทธคยา
พระกริ่งอรหัง วัดราชาวาสวรมหาวิหาร
ใบฝอยวิธีใช้ พระเครื่องหลวงพ่อทวดนวล เทวธมฺโม วัดตุยง
เซียนพระแนะวิธี ศึกษาพระเครื่อง ดูพระอย่างไรให้เล่นพระเป็น
พระปิดตามหาอุตม์ หลวงพ่อห้อย วัดหอมเกร็ด
พระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ หลวงพ่อแฉ่ง วัดบางพัง
พระกริ่งหนองแส หลวงปู่กลีบ วัดตลิ่งชัน
เหรียญหลวงพ่อพรหม วัดช่องแค รุ่นแรก ปี 2507
พระนางพญา กรุวัดนางพญา จ.พิษณุโลก ประวัติและพุทธคุณ article
คำว่าพระเครื่อง พระพิมพ์ กับความเชื่อมีมาตั้งแต่เมื่อไหร่ ?
เขาเล่น"พระ"อะไรกัน
พระนางพญาพิมพ์อกนูนใหญ่ กรุวัดนางพญา จ.พิษณุโลก
พระนางพญาพิมพ์เข่าตรงมือตกเข่า กรุวัดนางพญา เมตตามหาเสน่ห์
พระนางพญาพิมพ์เข่าตรง กรุวัดนางพญาเชื่อกันว่าพุทธคุณปกป้อง
พระนางพญาพิมพ์เข่าโค้ง วัดนางพญา จ.พิษณุโลก สุดยอดพระเครื่องในดวงใจ
พระเครื่อง พระเหรียญ แท้-เก๊จบที่ขอบเหรียญ
พระกริ่งทีอ๋อง พระกริ่งนอกยอดนิยม
เหรียญหลวงพ่อโอภาสี รุ่นแรก อาศรมบางมด
เหรียญรุ่นแรก หลวงพ่อสาย วัดหนองสองห้อง
เหรียญหลวงพ่อพริ้ง วชสุวัณโณ วัดวรจันทร์
เหรียญหล่อ หลวงปู่รอด วัดสามไถ article
พระปิดตาหลวงพ่อเอียด วัดดอนศาลา
พระคง ลำพูน เนื้อเขียว
เหรียญหลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ รุ่นแรก (พระครูวรเวทย์มุนี) article
พระเนื้อผง หลวงพ่อผึ่ง วัดสว่างอารมณ์
ชมรมพระเครื่อง เดอะมอลล์ งามวงศ์วาน เซียนประจำแน่น
เหรียญหลวงพ่อแก่ วัดดุลยาราม รุ่นแรก จ.สตูล
พระพุทธชินราช รุ่นบูรณะพิพิธภัณฑ์ เพื่อ "พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านจ่าทวี"
เหรียญเต่าใหญ่ หลวงพ่อทรง วัดศาลาดิน จ.อ่างทอง
เหรียญสมโภชพระธาตุพนม ปี18 article
พระหลวงพ่อหมอ ลพบุรี
พระกลีบบัว วัดลิงขบ
เหรียญหลวงปู่ทวด หลังยันต์ห้าแถวหนุนดวง รุ่นยืนมั่นคง บุญฤทธิ์หนุนดวง
เหรียญหลวงปู่ไข่ วัดเชิงเลน ราคาพระเหรียญที่แพงที่สุดในโลก 30ล้าน article
พระเครื่อง หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน ปี 2515
เหรียญสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสโล) พระเครื่องยอดนิยม article
พระสมเด็จ หลวงปู่ภู วัดอินทรวิหาร พิมพ์แซยิดแขนหักศอก
ตลาดพระ ท่าพระจันทร์ ศูนย์พระเครื่อง เก่าแก่และใหญ่ที่สุด article
เหรียญหลวงปู่อั๊บ เขมจาโร วัดท้องไทร รุ่นมหาโชคมหาเศรษฐี
พระสมเด็จบางขุนพรหม ย้อนยุค วัดใหม่อมตรส
เหรียญหลวงพ่อเคลือบ วัดหนองกระดี่ ปี 15
เหรียญพระเจ้าตากสิน รุ่นสร้างอนุสาวรีย์ ปี 2517 article
เหรียญรัชกาลที่1 เหรียญที่ระลึก 200 ปี ราชวงศ์จักรี
พระกรุวัดนาสนธิ์ พิมพ์วงแขน กรุเก่าแก่จังหวัดนครศรีธรรมราช article
เหรียญมหาโภคทรัพย์ชินบัญชร วัดโล่ห์สุทธาวาส
เหรียญหลวงพ่อเพชรมีชัย วัดมหาธาตุ จ.เพชรบูรณ์
เหรียญพระพุทธกันทรวิชัย อภิสมัยธรรมนายก "เหรียญ มศว.24" article
ศูนย์พระพันธุ์ทิพย์ พลาซ่า ตลาดพระเครื่อง พระพันธ์ทิพย์
เหรียญมหาปรารถนา หลวงปู่คำพันธ์ โฆสปัญโญ วัดธาตุมหาชัย
เหรียญหลวงพ่อก๋ง วัดเขาสมอคอน รุ่นแรก
พระพิจิตรเม็ดข้าวเม่า พระกรุเมืองพิจิตร
เหรียญหลวงพ่อโสธร รุ่นแรก ปี พ.ศ.2460
เหรียญหลวงตาละมัย วัดอรัญญิก รุ่นสร้างอุโบสถ
เหรียญท่านครูบาเจ้าศรีวิชัย วัดพระธาตุดอยคำ ปี 49
พระร่วงยืน สนิมแดง กรุศาลาขาว
เหรียญพระพุทธสิหิงค์ วัดราชประดิษฐ์ รุ่นฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ 150 ปี
เหรียญอาจารย์ฝั้น อาจาโร รุ่นแรก ปี2507
เหรียญหลวงพ่อพุ่ม วัดบางโคล่นอก ปี2477 รุ่นแรกพิมพ์นิยมหลังอุชิด
พระครูวัดฉลอง เหรียญ 100 ปี หลวงพ่อแช่ม วัดไชยธาราราม



[1]

ความคิดเห็นที่ 5 (174359)

 อยากทราบว่าราคาเช้าพระปิดตามหาเสน่หฺ์องค์เท่าไรคะจะเอามาใส่คล้องคอ

ผู้แสดงความคิดเห็น Tigerdog วันที่ตอบ 2017-08-13 11:56:40


ความคิดเห็นที่ 4 (153161)

 ปิดตารูป ที่ 1 ของวัดไหนครับ รบกวนหน่อยครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น Krieng (krieng-p-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2014-08-11 11:10:03


ความคิดเห็นที่ 3 (151063)

ผู้หญิงห้ามสวมใสพระปิดตาจริงรึเปล่าค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น SAOWANEE วันที่ตอบ 2012-06-14 09:13:44


ความคิดเห็นที่ 2 (148076)

ชอบมากครับ ผมพึงหัดสะสมพระโดยเฉพราะพระปิดตา ได้ความรู้เยอะเลยขอบคุณครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น chaiyut (moo-at-hotmail-dot-co-dot-th)วันที่ตอบ 2011-08-02 13:15:18


ความคิดเห็นที่ 1 (8355)

ยอดเยี่ยมมากเลยม่ายเคยเหนที่ไหนมาก่อนเลย

ผู้แสดงความคิดเห็น เซียนน้อย (soi_104-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2008-11-28 11:41:13



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล *
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล