พระเครื่อง อมูเลทตั้มศรีวิชัย ตลาดพระเครื่องรางของขลัง สวนไผ่สกลนคร หน่อไม้น้ำ หญ้าหวานอิสราเอล วันตรุษจีน2567
>...ตั้มศรีวิชัย TumAmulet ...< Thailand Amulet Charms |
คำแนะนำจากตำรวจเมื่อถูกโกง |
เงื่อนไขการรับประกัน การันตีพระเครื่อง |
สารบัญพระเครื่องเมืองนคร |
ทำเนียบพระกรุเมืองนคร |
ทำเนียบพระเครื่องเมืองนคร |
ชมรมพระเครื่อง |
บูชาพระเครื่อง เครื่องรางของขลัง Amulets Charms Talismans |
ตลาดพระ amulet for you |
เช่า-บูชา เครื่องรางของขลัง |
พระหลวงปู่ทวด วัดต่างๆ |
จตุคาม-รามเทพ หลักเมืองนคร Jatukamramtep (Jatukarm) |
หลักเมืองนครศรีธรรมราช |
จตุคาม ของดีนำมาโชว์ |
บทความ น่ารู้องค์พ่อจตุคาม |
Jatukam Amulets |
บทความจตุคามรามเทพ |
ลิงค์น่าสนใจ |
หนังสือพิมพ์ |
ลิ้งค์เพื่อนบ้าน |
เทศกาล วันสำคัญ |
ดวง ดูดวง หน้าหลัก |
บทความดีๆ |
นิทานสอนใจ |
วัฒนธรรมไทย ประเพณีไทย |
บทสวดมนต์ สำหรับชาวพุทธ |
พระเครื่อง นานาสาระ |
พระพุทธรูปสำคัญของไทย |
คาถา-อาคม พระคาถาอาคม |
พระพุทธรูปปางต่างๆ |
พุทธศาสนสุภาษิต |
ข่าวพระเครื่อง |
บทความพระเครื่อง |
Thai Buddha Amulets |
ข่าวพระพุทธศาสนา |
ข่าวเครื่องรางของขลัง |
สาระพระเครื่องไทย |
ประวัติพระวิปัสสนาจารย์ |
สวนไผ่ พันธุ์หญ้า ธนภัทรสกลนคร สินค้าเกษตรออนไลน์ ไผ่สายพันธุ์ต่างๆ ไผ่ข้าวหลามกาบแดง ไผ่ซางหม่น หน่อไม้น้ำ หญ้าหวานอิสราเอล หญ้านรกจักรพรรดิ์ หญ้าเนเปียร์ปากช่อง1 หญ้าเนเปียร์แคระ หญ้าเนเปียร์ท้ายเขื่อนซุปเปอร์ลีฟ สะสมพระเครื่อง แต่ใจรักเกษตรผสมผสาน
|
พระท่ากระดาน กรุศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี
พระท่ากระดาน กรุศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี ถือว่าเป็นพระประจำเมืองกาญจนบุรี จนได้รับฉายาว่า ขุนศึกแห่งลุ่มแม่น้ำกลอง ที่โด่งดังและเป็นที่รู้จักของวงการพระเครื่องเมืองไทยมาช้านาน พระท่ากระดาน กรุศรีสวัสดิ์ "ท่ากระดาน" เป็นตำบลหนึ่งใน อ.ศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี พระท่ากระดาน เป็นพระเครื่องที่สร้างในยุคสมัยอู่ทอง ประวัติพระท่ากระดาน สันนิษฐานว่า ผู้ที่สร้างมิใช่พระสงฆ์ แต่เป็นฆราวาสที่เรียกกันว่า ฤๅษี ในยุคโบราณ เป็นการสันนิษฐานจากหลักฐานที่ปรากฏบนใบลานเงินลานทอง ในการค้นพบพระเครื่องกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.สุพรรณบุรี และพระเครื่องกรุวัดพระบรมธาตุ จ.กำแพงเพชร ที่ได้กล่าวถึงการสร้างพระเครื่องของบรรดาพระฤๅษีทั้ง ๑๑ ตน แต่มีฤๅษีอยู่ ๓ ตน ที่ถือว่าเป็นใหญ่ในบรรดาฤๅษีทั้งปวง คือ ฤๅษีตาไฟ ฤๅษีตาวัว และ ฤาษีพิลาลัย ฤาษีที่สันนิษฐานว่าเป็น ผู้สร้างพระท่ากระดาน ก็คือ ฤๅษีตาไฟ โดยการอาราธนาของ เจ้าเมืองท่ากระดาน เมื่อสร้างเสร็จแล้ว ก็นำมาบรรจุไว้ในอารามสำคัญของเมืองท่ากระดาน เมืองศรีสวัสดิ์ และเมืองกาญจนบุรีเก่า ในสมัยนั้น จากคำบอกเล่าของคนเมืองกาญจนบุรีรุ่นเก่า ที่เรียก พระท่ากระดาน ว่า พระเกศบิดตาแดง นั้น มีความหมายลึกซึ้ง บ่งบอกถึงเอกลักษณ์สำคัญของพระเครื่องชนิดนี้โดยตรง ชี้เบาะแสให้พิจารณาถึงผู้สร้างได้เป็นอย่างดี ด้วยคำว่า เกศบิด ตรงกับลักษณะพระเกศของพระที่มีลักษณะยาว และบิดม้วน ดุจชฎาของพระฤๅษี พระพักตร์ลักษณะเป็นหน้าพระฤๅษีอย่างเห็นได้ชัด อีกทั้งการก้มง้ำของพระพักตร์ แฝงไว้ด้วยความเข้มขลังของอาตาจญาณสมาบัติ ส่วนคำว่า ตาแดง นั้น ดูเหมือนว่าจะทวีความลึกลับยิ่งขึ้นไปอีก เพราะมิได้หมายความว่า พระเนตรขององค์พระมีวรรณะแดงของสนิมแดงแต่เพียงอย่างเดียว ส่วนอื่นๆ ขององค์พระก็ปรากฏวรรณะของสนิมแดงปกคลุมอยู่โดยทั่วไป จากลักษณะพิเศษต่างๆ ดังกล่าวนี้ ทำให้สันนิษฐานและประมาณการได้ว่า ผู้สร้าง พระท่ากระดาน นี้ น่าจะได้แก่ พระฤๅษีตาไฟ จารึกในย่านป่าเขาเขตกาญจนบุรี (ทางผ่านอู่ทอง) คงมีอาศรมอยู่ในป่าแถบนี้ และบางโอกาสก็จำศีลภาวนาอยู่ในถ้ำต่างๆ เช่นที่ ถ้ำลั่นทม เขต อ.ศรีสวัสดิ์ ซึ่งมีหลักฐานว่า เป็นแหล่งกำเนิดของ พระท่ากระดาน โดยมีการขุดพบพระท่ากระดานจำนวนหลายร้ององค์ บรรจุอยู่ในพระเจดีย์โบราณหน้าถ้ำ นอกจากนี้ยังได้ขุดพบ แม่พิมพ์ ของพระท่ากระดาน พร้อมกับเศษตะกั่ว ที่มีสนิมแดงเกิดขึ้นอีกมากมาย ทำให้สันนิษฐานว่า บริเวณหน้าถ้ำลั่นทม คือ สถานที่สร้างพระท่ากระดาน นั่นเอง
พุทธลักษณะ พระท่ากระดาน เป็นพระเครื่องปฏิมากรรมแบบนูนสูง คือมีภาพด้านหน้าด้านเดียว ด้านหลังแบนเรียบ โดยจะเน้นส่วนนูนสูง และส่วนลึก องค์พระปางมารวิชัยขัดราบ มีสังฆาฏิแบบสี่เหลี่ยมกว้างหนา ยาวจรดลงมาถึงบริเวณส่วนพระหัตถ์ซ้าย ฐานสำเภา อันเป็นเอกลักษณ์ของพระยุคอู่ทอง พระเกศยาว ใบหน้าลึก เป็นลักษณะแบบพุทธศิลปะยุคอู่ทอง พระเกศจะเป็นแบบยาวตรงขึ้นไปทุกองค์ แต่เนื่องจากระยะเวลาของอายุพระมาก และอยู่ใต้ดิน ถูกทับถมมาก ทำให้ปลายเกศซึ่งมีความบอบบาง อาจจะหักชำรุด หรืองอคดไปด้านใดด้านหนึ่ง ปลายเกศของพระท่ากระดาน จึงมีหลายลักษณะ คือ เกศยาวตรง เรียกว่า พิมพ์เกศตรง ส่วนเกศที่คดไปด้านใดด้านหนึ่ง เรียกว่า พิมพ์เกศคด พระองค์ใดที่เกศหักชำรุด ทำให้เกศหดเหลือสั้น เรียกว่า พิมพ์เกศบัวตูม เอกลักษณ์อีกอย่างหนึ่งของพระท่ากระดาน คือ มือหรือพระหัตถ์มีลักษณะหนา ตามเอกลักษณ์ของพระอู่ทอง ลักษณะพระพักตร์ (หน้า) ของพระท่ากระดาน เป็นลักษณะพุทธศิลป์อู่ทอง ต้นพระหนุ (ขากรรไกร) พระหนุ (คาง) มีลักษณะยื่นออกมาข้างหน้าอย่างคมสัน เข้าลักษณะของอู่ทองคางคน พระเนตรปิดสนิท ลักษณะเมล็ดข้าวสาร ปลายเฉียงเข้าหาพระนาสิก (จมูก) ประกอบด้วย การก้มง้ำของพระพักตร์ มุมพระโอษฐ์ (ปาก) ทั้ง ๒ ข้างเน้นเป็นร่องลึก ทำให้ปรากฏแววยิ้มบนพระพักตร์ ดังนั้นพระพักตร์ของพระท่ากระดานจึงมีลักษณะเคร่งขรึม แต่แฝงไว้ด้วยรอยยิ้มดันอ่อนโยน อย่างน่าพิศวง ใน ส่วนของพระอุระ (อก) ลำพระองค์ และเส้นสังฆาฏิ โดยรวมมีลักษณะพระอุระผายกว้าง ตอนส่วนบนปาดเป็นเต้าสูง และสอบคดลงเบื้องล่าง ในแนวพระอุทร (ท้อง) หากมองดูแบบผิวเผิน พระอุระ (อก) จะมีลักษณะคล้ายรูปหัวช้าง (เช่นเดียวกับที่ปรากฏในพระผงสุพรรณ) เส้นสังฆาฏิเป็นเส้นหนา พาดพระอังสา (ไหล่) เบื้องซ้ายขององค์พระ ลักษณะของเส้นสังฆาฏิ ที่น่าสังเกตประการหนึ่ง คือ ปลายส่วนบนที่พาดพระอังสานั้น เมื่อพิจารณาให้ละเอียดจะพบว่า ปลายเส้นสังฆาฏิบริเวณนี้ เลือนหายเข้าสู่บริเวณกระดูกไหปลาร้า ใต้คางขององค์พระ เหมือนไม่ใช่พาดเหนือไหล่ เป็นลักษณะเช่นนี้ในพระทุกองค์ ส่วนพระเพลา หรือหน้าตักของพระท่ากระดานทุกกรุ มีส่วนของความหนาและแน่น ทับซ้อนกันอย่างแข็งทื่อ แน่นหนาอย่างมั่นคง ความเป็นศิลปะอู่ทองอีกส่วนหนึ่งคือ ฐาน เป็นแบบ พระอู่ทองฐานสำเภา คือเป็นฐานเขียงชั้นเดียว แสดงลักษณะแง่สันแท่งเหลี่ยม เมื่อพิจารณาจากด้านข้าง เห็นว่ามีความเฉียงลาดข้างบนเล็ก ข้างล่างบางใหญ่ เป็นฐานเกลี้ยงปราศจากบัวหรือสิ่งอื่นใด พระท่ากระดาน มีการค้นพบและขึ้นจากกรุหลายต่อหลายครั้ง ทั้งอย่างเป็นทางการ และถูกลักลอบขุด หากขึ้นหรือพบในยุคแรกๆ นิยมเรียกว่า พระกรุเก่า ส่วนที่มีการขุดพบเมื่อไม่นานมานี้ เรียกว่า พระกรุใหม่ ความเป็นจริงแล้ว ทั้งพระกรุเก่าและพระกรุใหม่ ล้วนสร้างขึ้นในสมัยเดียวกันทั้งสิ้น จะต่างก็เฉพาะระยะเวลาของการขุดพบพระกรุนั้นๆ
หลักการพิจารณาว่า พระท่ากระดาน องค์ใดเป็น พระกรุเก่า หรือ พระกรุใหม่ ให้พิจารณาพื้นผิวขององค์พระ พระท่ากระดานกรุเก่า ขึ้นจากกรุมานานปี ผ่านการใช้สัมผัส และเปลี่ยนมือมามาก ทำให้ผิวขององค์พระเปิด เผยให้เห็นผิวของเนื้อพระได้โดยง่าย แม้จะเก็บรักษาอย่างดีเพียงใด ก็ยังพอสังเกตได้ ส่วน พระท่ากระดานกรุใหม่ พื้นผิวขององค์พระ มักถูกปกคลุมด้วยคราบดินขี้กรุให้เห็นเป็นจำนวนมาก ขนาดขององค์ พระท่าพระดาน พิมพ์ใหญ่ กว้างประมาณ ๒.๘ ซม. สูงประมาณ ๔.๕ ซม. ความหนาที่ฐานพระ ๑.๓ ซม. พระท่าพระดาน พิมพ์เล็ก มีขนาดกว้างประมาณ ๒.๕ ซม. สูงประมาณ ๓.๘ ซม. ความหนาที่ฐาน ๑.๒ ซม. พุทธคุณพระท่ากระดาน จ.กาญจนบุรี ยอดเยี่ยมทางแคล้วคลาด และคงกระพันชาตรี ราคาเช่าหาอยู่ที่หลักหลายแสนบาท มานานแล้ว เป็นพระเนื้อชินตะกั่วสนิมแดง ที่ผู้เป็นเจ้าของทุกคนพากันหวงแหนเป็นอันมาก "ชาติ วิศิษฏ์สรอรรถ" ที่มา...
พระท่ากระดาน เป็นพระที่เป็นหนึ่งในเบญจภาคีพระชุดยอดขุนพลเนื้อชิน พระกรุนี้มีพบด้วยกันหลายครั้งหลายหนตามกรุต่างๆ ทั้งที่ตัวตำบลท่ากระดานเอง และพบในครั้งหลังตามกรุต่างๆ ในตัวจังหวัดด้วย ทำไมพระท่ากระดานจึงมีการพบที่ตัวจังหวัดด้วย วันนี้เราจะมาคุยกันถึงต้นกำเนิดและพระที่พบในตัวจังหวัดกันครับ พระท่ากระดานนั้นในสมัยก่อนที่มีการพบพระครั้งแรกๆ นั้น เขาจะเรียกกันว่า "พระเกศปิดตาแดง" เนื่องจากพระที่พบส่วนใหญ่มีพระเกศบิดคดงอ และเป็นพระเนื้อชินสนิมแดง จึงเรียกกันตามลักษณะของพระที่พบไปตามนั้น ต่อมามีความนิยมเสาะหาพระท่ากระดานกันมากเนื่องจากพุทธคุณของพระท่ากระดาน นั้นมีประสบการณ์เด่นทางด้านอยู่ยงคงกระพันชาตรีและมหาอุด ผู้ที่มีพระท่ากระดานติดตัวไม่เคยมีผู้ใดได้รับอันตรายเพราะศัสตราวุธเลย แหล่งที่พบพระท่ากระดานในครั้งแรกๆ นั้นพบอยู่ที่วัดร้างในตำบลท่ากระดาน อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี และสถานที่แห่งนี้เองเป็นแหล่งกำเนิดพระท่ากระดาน ต่อมาจึงเรียกพระชนิดนี้ว่า "พระท่ากระดาน" ตามตำบลที่พบ การขุดหาพระท่ากระดานนั้นได้มีคนขุดพบพระท่ากระดานกันมานานแล้ว และขุดพบกันต่อมาเรื่อยๆ ส่วนมากได้กันครั้งละไม่กี่องค์ พบกระจัดกระจายไปทั่วบริเวณวัดร้างทั้ง 4 วัด คือวัดบน วัดกลาง วัดล่าง และวัดต้นโพธิ์ ต่อมาพบที่ถ้ำใกล้ๆ นั้นอีกคือที่ถ้ำลั่นทม ต่อมาได้มีการขุดหาอย่างจริงจังที่ตำบลท่ากระดานอีกในปี พ.ศ.2495-2496 พระที่พบในตำบลท่ากระดานนี้จะเรียกกันว่า "พระท่ากระดานกรุเก่า" พระที่พบเป็นพระเนื้อชินสนิมแดงทั้งหมด บางองค์จะมีการปิดทองมาแต่ในกรุ พระส่วนใหญ่จะมีสนิมไขขาวคลุมอยู่อีกชั้นหนึ่ง ต่อมามีการพบพระท่ากระดานที่ตัวจังหวัดอีก 3 วัดคือ ที่วัดหนองบัว ในปี พ.ศ.2497 หลวงปู่เหรียญได้ให้มีการบูรณปฏิสังขรณ์พระอารามขึ้น เพราะมีความชำรุดทรุดโทรมมาก ขณะที่ช่างก่อสร้างกำลังซ่อมพระอุโบสถหลังเก่าอยู่นั้น ปรากฏว่าได้พบพระท่ากระดานรวมทั้งสิ้น 93 องค์ และพระสกุลท่ากระดานอีก 21 องค์ รวมทั้งยังได้พบพระปิดตาเนื้อผงที่หลวงปู่ยิ้มสร้างไว้อีกหลายองค์ พระเครื่องเหล่านี้พบอยู่ในไหโบราณ ที่อยู่บนเพดานพระอุโบสถด้านหลังพระประธาน ในปี พ.ศ.2506 ได้พบพระท่ากระดานอีกที่วัดเหนือ (วัดเทวสังฆาราม) สมัยหลวงพ่อดี เป็นเจ้าอาวาส เนื่องจากทางวัดได้มีการเจาะพระเจดีย์องค์ประธาน ซึ่งประดิษฐานอยู่หน้าพระวิหาร เพื่อบรรจุพระพุทธ 25 ศตวรรษ ซึ่งเป็นพระที่ทางราชการมอบมาให้บรรจุไว้ในองค์พระเจดีย์ ขณะที่คนงานกำลังเจาะลึกลงไปได้ประมาณ 1 เมตร ได้มีทรายที่บรรจุอยู่ทะลักพรูออกมาเป็นอันมาก เมื่อโกยทรายออกมาจนหมดจึงพบไหโบราณเคลือบสีดำ ภายในบรรจุพระท่ากระดานและพระเครื่องต่างๆ ฝังเรี่ยราดอยู่เป็นอันมาก พระที่พบมีพระท่ากระดาน 29 องค์ พระท่ากระดานหูช้าง 800 องค์ พระขุนแผนเรือนแก้วสองพิมพ์คือพิมพ์สมาธิและพิมพ์มารวิชัย เนื้อชินสนิมแดง 200 องค์ พระโคนสมอ 200 องค์ พระมารวิชัยสะดุ้งกลับ 20 องค์ พระแบบทวารวดี 2 องค์ พระชัยวัฒน์ 10 องค์ และพระท้าวชมภูฯ 2 องค์ ในปี พ.ศ.2507 พบพระท่ากระดานอีกที่วัดท่าเสา ได้มีการขุดพระเจดีย์โบราณองค์หนึ่งได้พระท่ากระดานออกมาจำนวนหนึ่ง และได้พระท่ากระดานน้อยอีกจำนวนมาก เป็นพระเนื้อตะกั่วสนิมแดงทั้งหมด จำนวนของพระทั้งสองชนิดไม่ได้มีการบันทึกไว้ พระท่ากระดานที่พบใน 3 ครั้งหลังนี้เรียกกันว่า "พระท่ากระดานกรุใหม่" พระกรุใหม่ที่พบนี้เห็นได้ชัดว่าเป็นพระพิมพ์เดียวกันกับพระกรุเก่า เนื้อหาก็เป็นแบบเดียวกันทุกประการ การพบในครั้งหลังนี้พบพร้อมกับพระชนิดอื่นๆ ปะปนกันอยู่ จึงสันนิษฐานได้ว่าพระท่ากระดานถูกนำมาจากที่กรุเก่าแล้วบรรจุรวมไว้กับพระ ชนิดอื่นๆ คงมีผู้นำมาถวายเพื่อนำไปบรรจุไว้ภายหลัง แต่นำมาบรรจุไว้ตั้งแต่เมื่อใดไม่มีหลักฐานปรากฏแน่ชัด พระท่ากระดาน มีพุทธศิลปะแบบสกุลช่างอู่ทองหน้าแก่ อายุราวปลายพุทธศตวรรษที่ 19 พุทธคุณเด่นทางด้านมหาอุด อยู่ยงคงกระพันชาตรี และโชคลาภ ในวันนี้ผมได้นำพระท่ากระดานมาให้ชมกันทั้งด้านหน้าและด้านหลังครับ |
[1] |
ความคิดเห็นที่ 7 (159402) | |
พระท่ากระดาน กรุศรีสวัสดิ์ ราคาเช่าครับ และถ้าท่ากระดานน้อยครับราคาเช่าเช่นกันกับ พุทธคุณเหมือนกันไหมครับ | |
ผู้แสดงความคิดเห็น พงศ์ ( pong1952-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2016-07-19 08:14:37 |
ความคิดเห็นที่ 6 (151669) | |
ท่านใดสนใจตะกั่วสนิมแดง 500 ปี ถ้ำลั่นทม เขต อ.ศรีสวัสดิ์ เหลือเพียงชิ้นเดียวเท่านั้น ขนาด ยาวประมาณ 15 เซนติเมตร กว้าง 8 เซนติเมตร เปิดให้บูชา 15000 บาท ต่อรองได้ครับ 0822455398 จัดส่งฟรีทั่วประเทศ | |
ผู้แสดงความคิดเห็น ศุภโชค ศ. (supachpu-at-scg-dot-co-dot-th)วันที่ตอบ 2013-05-12 11:35:20 |
ความคิดเห็นที่ 5 (151521) | |
ยากบอกเรื่องจริง ยายมีพระท่ากระดาน 2 องค์ องค์แรกตะกั่วสนิมแดงเกตยาว ตาโปนแดงก่ำ พอเห็นพระท่ากระดานแล้วใจสั่นคิดในใจว่า ใช่ วันนั้นห้อยพระหลวงพ่อม่วง กำหลวงพ่อม่วงไว้ในมืออธิฐานขอให้ได้ครอบครองพระท่ากระดานองค์ที่เห็นในที่สุดก็สมปรารถนา องค์ที่ 2 เนื้อชินฯ แต่ชอบห้อย เนื้อสนิมแดงที่สุด(ไม่ได้โม้ ) | |
ผู้แสดงความคิดเห็น ยาย วันที่ตอบ 2013-02-06 20:26:42 |
ความคิดเห็นที่ 4 (150932) | |
คุณจะเชื่อมั๊ยครับว่าพระท่ากระดานของผมเสด็จมาเองแล้วมาเข้าฝันบอกว่าท่านชื่ออุตตะมะหรือขุตะมะไม่แน่ใจบอกว่ามาจากลาว | |
ผู้แสดงความคิดเห็น เป้ง อุดร (wichan2506-at-gmail-dot-com)วันที่ตอบ 2012-05-02 17:11:20 |
ความคิดเห็นที่ 3 (147073) | |
พระโบราณเป็นพระที่ดีในกราขุดพบ เป็นพระที่เเปลก | |
ผู้แสดงความคิดเห็น ขิงบ้านเนิน (khig_Zeero-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2011-01-27 11:09:44 |
ความคิดเห็นที่ 2 (135780) | |
ผมมีพระท่ากระดานอยู่ 1 องค์แต่ไม่รู้ว่าเป็นรุ่นอะไร ใครที่สามารถดูและตรวจสอบได้กรุณาติดต่อผมด้วยครับ | |
ผู้แสดงความคิดเห็น preecha (cha01-dot-fai-at-gmail-dot-com)วันที่ตอบ 2010-11-02 21:08:58 |
ความคิดเห็นที่ 1 (106977) | |
ใครสนใจพระกริ่งท่ากระดาน 108 ปี อ.ศรีสวัสดิ์ 2545 ประสบการณ์ดีเยี่ยม ราคา 2500.-มีจำนวนจำกัด รุ่นแรก โทร057-155-11-99
| |
ผู้แสดงความคิดเห็น นก (weeradech2499-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2010-04-17 21:16:43 |
[1] |