พระพุทธชินราช รุ่นบูรณะพิพิธภัณฑ์ พื้นบ้านจ่าทวี
พระพุทธชินราช รุ่นบูรณะพิพิธภัณฑ์ พื้นบ้านจ่าทวี จ.พิษณุโลก
"พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านจ่าทวี"ก่อตั้งขึ้นจากชาวบ้านอดีตข้าราชการทหารชั้นผู้น้อย นามว่า จ่าสิบเอกทวี บูรณเขตต์ หรือที่ผู้คนเรียกว่า จ่าทวี หรือ ลุงจ่ามีความสามารถในการปั้น-หล่อโลหะ โดยเฉพาะการปั้นหล่อพระพุทธรูป เมื่อลุงจ่าเดินทางไปหล่อพระประธานและนำพระออกไปติดตั้งตามวัดในท้องที่ ต่างๆ ลุงจ่าได้พบเห็นวิถีชีวิตผู้คนในท้องถิ่นและข้าวของเครื่องใช้ถูกทิ้งขว้าง เกิดนึกเสียดาย
เมื่อได้มีโอกาสจึงขอซื้อขอแบ่งปันมาเก็บไว้เป็นเวลายาวนานและจำนวนมาก กระทั่งบ้านของลุงจ่ากลายเป็นพิพิธภัณฑ์ ลุงจ่าเปิดบ้านเป็นพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านจ่าทวี ตั้งแต่ปี พ.ศ.2526 เป็นต้นมา โดยไม่ได้เก็บค่าใช้จ่ายในการเข้าชม มีรายจ่ายต่อเดือนไม่ต่ำกว่าเดือนละ 50,000 บาท ทำให้พิพิธภัณฑ์ต้องรับภาระค่าใช้จ่ายมากขึ้น และประสบปัญหาต่างๆ ตามมา
มูลนิธิจ่าสิบเอกทวี บูรณเขตต์ ก่อตั้งขึ้นจากกลุ่มผู้ศรัทธาในตัวลุงจ่า ตั้งแต่ปี พ.ศ.2548 ภายใต้การนำของ อาจารย์อำนวย จั่นเงิน อดีตผู้ตรวจราชการกระทรวงวัฒนธรรม ที่มองเห็นว่าพิพิธภัณฑ์ของลุงจ่า มีคุณค่าต่อการเรียนรู้ประวัติศาสตร์สังคมไทย สมควรที่ภาคประชาชนจะได้ช่วยกันให้กำลังใจและส่งเสริมงานของลุงจ่า เพื่อให้พิพิธภัณฑ์ดำรงคงอยู่ และเพื่อให้คนทำงานพิพิธภัณฑ์มีความหวัง มีพลังใจ คณะกรรมการมูลนิธิฯ นำโดย รศ.มังกร ทองสุขดี ประธานคณะกรรมการมูลนิธิฯ ได้มีมติเห็นพ้องที่จะจัดให้ระดมทุนเพื่อให้มีดอกผลเพียงพอที่จะดูแล พิพิธภัณฑ์ โดยการจัดสร้างวัตถุมงคลและพระบูชา รุ่นบูรณะพิพิธภัณฑ์ ประกอบด้วย พระบูชาพระพุทธชินราช (จำลอง) และเหรียญที่ระลึก
ความพิเศษของ พระรุ่นบูรณะพิพิธภัณฑ์ คือ พระทุกองค์ได้รับส่วนผสมจากชนวนพระและเนื้อโลหะจากพระรุ่นสำคัญที่รวบรวมไว้ ซึ่งล้วนเป็นผลงานของจ่าสิบเอกทวีที่ผ่านพิธีพุทธาภิเษกแล้ว อาทิ พระวัดจุฬามณี ปี 2511 พระหลวงพ่อพระครูประพันธ์ศีลคุณ วัดเขาสมอแครง พระพุทธชินราช รุ่นต่างๆ และพระรุ่นอื่นๆ ที่ได้รับความนิยม เช่น เนื้อชนวนพระกริ่งนเรศวร ปี 2507 พระกริ่งนเรศวรวังจันทร์ ปี 2515 พระกริ่งนเรศวรเผด็จศึก ปี 2522
พร้อมด้วยแผ่นทองลงเลขยันต์ที่จาร และปลุกเสก โดยพระคณาจารย์ผู้เรืองวิทยาคมกว่า 200 รูปทั่วประเทศ ที่สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงประทานให้ใช้ในการหล่อพระบูชาพระพุทธชินราช รุ่นพุทธศรัทธา ปี 2551 คาถาบูชาพระพุทธชินราช
พิธีหลอมชนวนพระ โลหะมงคล แผ่นจารึกพระยันต์ศักดิ์สิทธิ์ และพิธีเททองหล่อพระพุทธชินราช (จำลอง) รุ่นบูรณะพิพิธภัณฑ์ เป็นปฐมฤกษ์ เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2552 เวลา 14.39 น. ณ วัดตาปะขาวหาย ต.หัวรอ อ.เมือง จ.พิษณุโลก มีพระคณาจารย์เข้าร่วมพิธี อาทิ หลวงพ่อธรรมจักร วัดธรรมจักร จ.พิษณุโลก, หลวงตาละมัย วัดอรัญญิก จ.พิษณุโลก, หลวงปู่แขก วัดสุนทรประดิษฐ์ อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก, หลวงพ่อทุเรียน วัดสุวรรณคีรีวนาราม อ.คีรีมาศ จ.สุโขทัย เป็นต้น
พระเครื่อง-พระบูชา สำหรับรายการพระบูชาและวัตถุมงคลที่จัดสร้าง ประกอบด้วย
1. พระบูชา พระพุทธชินราช ขนาดหน้าตัก 9 นิ้ว พร้อมพระโมคคัลลานะและพระสารีบุตร ดินไทยลงรักปิดทองคำแท้ 100% (ไม่รวมครอบ) ราคาเช่าบูชา 14,900 บาท
2.พระบูชา พระพุทธชินราช ขนาดหน้าตัก 5.9 นิ้ว พร้อมพระโมคคัลลานะและพระสารีบุตร ดินไทยลงรักปิดทองคำแท้ 100% (ไม่รวมครอบ) ราคาเช่าบูชา 7,900 บาท
3.เหรียญหล่อโบราณ รูปหยดน้ำ สูง 3.5 เซนติเมตร ด้านหน้ารูปพระพุทธชินราช หลังเรียบ เนื้อนวโลหะ 999 บาท เนื้อทองสำริด 599 บาท
4. เหรียญรูปไข่ สูง 3 เซนติเมตร ด้านหน้ารูปพระพุทธชินราช ด้านหลังพระบรมรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงยืนหลั่งทักษิโณทก เนื้อทองคำ 19,999 บาท เนื้อเงิน 999 บาท เนื้อทองสำริด 199 บาท
พระบูชาสร้างจำนวนจำกัดเพียงขนาดละ 2,552 องค์
ประกอบ พิธีมหาพุทธาภิเษก พระบูชาพระพุทธชินราช (จำลอง) และวัตถุมงคล รุ่นบูรณะพิพิธภัณฑ์ ในวันพุธที่ 28 ตุลาคม 2552 เวลา 18.19 น. ณ วัดตาปะขาวหาย ต.หัวรอ อ.เมือง จ.พิษณุโลก
สามารถสั่งจอง พระพุทธชินราช รุ่นบูรณะพิพิธภัณฑ์ ได้จนถึงสิ้นเดือนกรกฎาคม 2552 สอบถามรายละเอียดได้ที่พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านจ่าทวี โทร.0-5521-2749 หรือโทร.08-1680-1434 เกือบค่อนชีวิตของช่างหล่อพระคนหนึ่ง ที่สร้างสรรค์พิพิธภัณฑ์ด้วยความรักความผูกพัน
ลุงจ่า หรือ จ่าสิบเอกทวี บูรณเขตต์ จะทำหน้าที่ปั้น-หล่อครั้งสำคัญ เพื่อให้พระบูชาและวัตถุมงคล รุ่นบูรณะพิพิธภัณฑ์ เป็นรุ่นพิเศษอย่างแท้จริง เพื่อสืบสานชีวิตพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านให้อยู่ยืนยาวต่อไป คาถาบูชาพระพุทธชินราช เหรียญพระพุทธชินราชอินโดจีน 2485 ที่มาหนังสือพิมพ์ข่าวสด