พระเครื่อง อมูเลทตั้มศรีวิชัย ตลาดพระเครื่องรางของขลัง สวนไผ่สกลนคร หน่อไม้น้ำ หญ้าหวานอิสราเอล วันตรุษจีน2567
>...ตั้มศรีวิชัย TumAmulet ...< Thailand Amulet Charms |
คำแนะนำจากตำรวจเมื่อถูกโกง |
เงื่อนไขการรับประกัน การันตีพระเครื่อง |
สารบัญพระเครื่องเมืองนคร |
ทำเนียบพระกรุเมืองนคร |
ทำเนียบพระเครื่องเมืองนคร |
ชมรมพระเครื่อง |
บูชาพระเครื่อง เครื่องรางของขลัง Amulets Charms Talismans |
ตลาดพระ amulet for you |
เช่า-บูชา เครื่องรางของขลัง |
พระหลวงปู่ทวด วัดต่างๆ |
จตุคาม-รามเทพ หลักเมืองนคร Jatukamramtep (Jatukarm) |
หลักเมืองนครศรีธรรมราช |
จตุคาม ของดีนำมาโชว์ |
บทความ น่ารู้องค์พ่อจตุคาม |
Jatukam Amulets |
บทความจตุคามรามเทพ |
ลิงค์น่าสนใจ |
หนังสือพิมพ์ |
ลิ้งค์เพื่อนบ้าน |
เทศกาล วันสำคัญ |
ดวง ดูดวง หน้าหลัก |
บทความดีๆ |
นิทานสอนใจ |
วัฒนธรรมไทย ประเพณีไทย |
บทสวดมนต์ สำหรับชาวพุทธ |
พระเครื่อง นานาสาระ |
พระพุทธรูปสำคัญของไทย |
คาถา-อาคม พระคาถาอาคม |
พระพุทธรูปปางต่างๆ |
พุทธศาสนสุภาษิต |
ข่าวพระเครื่อง |
บทความพระเครื่อง |
Thai Buddha Amulets |
ข่าวพระพุทธศาสนา |
ข่าวเครื่องรางของขลัง |
สาระพระเครื่องไทย |
ประวัติพระวิปัสสนาจารย์ |
สวนไผ่ พันธุ์หญ้า ธนภัทรสกลนคร สินค้าเกษตรออนไลน์ ไผ่สายพันธุ์ต่างๆ ไผ่ข้าวหลามกาบแดง ไผ่ซางหม่น หน่อไม้น้ำ หญ้าหวานอิสราเอล หญ้านรกจักรพรรดิ์ หญ้าเนเปียร์ปากช่อง1 หญ้าเนเปียร์แคระ หญ้าเนเปียร์ท้ายเขื่อนซุปเปอร์ลีฟ สะสมพระเครื่อง แต่ใจรักเกษตรผสมผสาน
|
ธุรกิจพระเครื่องเมืองไทย
ธุรกิจพระเครื่องเมืองไทยธุรกิจพระเครื่องนั้นอาจแบ่งออกเป็นหลายประเภทและหลายทิศทาง ได้แก่ การเช่าบูชาวัตถุมงคลพระเครื่องต่างๆ กระบวนการจัดสร้างวัตถุมงคล ธุรกิจพระเครื่องเมืองไทยอันเกี่ยวเนื่องกับวัตถุมงคลซึ่งมีอยู่มากมาย ธุรกิจพระเครื่อง รวมทั้งอุปกรณ์การสะสมพระเครื่องต่างๆ พระเครื่องเมืองไทยในขณะนี้ไม่ได้เฟื่องฟูแต่ในเมืองไทยเท่านั้น ในประเทศไทยเรานั้น คติการสร้างสิ่งสมมติแทนองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเกิดขึ้นมานานแล้ว ซึ่งนอกเหนือจากวัตถุประสงค์ในการจัดสร้างเพื่อการสักการบูชาแล้ว ยังเชื่อกันว่า พระเครื่องไทยเป็นการต่ออายุพระพุทธศาสนา การจัดสร้างพระเครื่องมักนิยมสร้างจำนวน 84,000 องค์ ตามจำนวนพระธรรมขันธ์ แล้วนำไปบรรจุเข้ากรุไว้ ในกาลต่อมา เมื่อมีการขุดค้นพบเจอพระเครื่องเมืองไทยหลากชนิดตามกรุต่างๆ ธุรกิจอันเกี่ยวเนื่องกับพระเครื่องจึงเกิดขึ้น เริ่มต้นด้วยการแลกเปลี่ยนกันเองในกลุ่มผู้นิยมชมชอบ โดยบริเวณที่นัดดูพระเพื่อแลกเปลี่ยนกันจะอยู่บริเวณหน้าศาลอาญา สนามหลวง, สนามชัย และวัดมหาธาตุฯ ต่อมา ธุรกิจพระเครื่อง ขยายตัวใหญ่ขึ้นที่วัดราชนัดดาฯ และตลาดพระเครื่องท่าพระจันทร์ ก่อนจะขึ้นห้าง ในที่สุดธุรกิจพระเครื่องนั้นอาจแบ่งออกเป็นหลายระดับ หลายประเภทและหลายทิศทางอันได้แก่ - การเช่าบูชาวัตถุมงคลยุคเก่าที่มีอายุก่อน พ.ศ. 2500 การเช่าหาบูชามักจะพึ่งพาอาศัยคนกลาง ผู้ทรงภูมิความรู้ในการจำแนกวัตถุมงคลประเภทต่างๆ ตามถนัด ที่เรียกกันว่า "เซียน" ธุรกิจพระเครื่อง ยอดวงเงินสะพัดจากการเช่าบูชาวัตถุมงคลยุคเก่าของสะสมนั้นสูงมาก มูลค่าของ"พระเครื่องเมืองไทย"ที่อยู่ในลำดับความนิยมและมีราคาสูง ได้แก่ พระชุดเบญจภาคี และพระกรุ พระเก่าต่างๆ แต่มักพบเจอกับปัญหาเกี่ยวกับมาตรฐานในการพิจารณาความแท้ เนื่องจากมีของเลียนแบบค่อนข้างสูง โชคดีที่ยังมี "สมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย" เป็นหลักในการวางมาตรฐานอยู่ ดังนั้น เพื่อความมั่นใจ ขอแนะนำให้ไปส่งในงานประกวดพระที่ควบคุมโดยสมาคม หรือไปขอให้สมาคมออกใบรับรองพระแท้ (Certificate) ให้ - การเช่าบูชาวัตถุมงคลยุคใหม่ คือ หลังปีพ.ศ.2500 ซึ่งผู้คนเริ่มหันมาให้ความสนใจกันอย่างมาก เพราะสามารถเห็นถึงกระบวนการการจัดสร้างได้ด้วยตนเอง วงเงินสะพัดของการเช่าบูชาอยู่ในระดับสูงพอๆ กัน แต่ก็ยังเกิดปัญหาเรื่องจำนวนการจัดสร้างที่มากเกินไป จึงจำต้องพึ่งพาการโฆษณาประชาสัมพันธ์ เพื่อปลุกกระแสของความนิยม - กระบวนการจัดสร้างวัตถุมงคล ธุรกิจพระเครื่องเมืองไทย นับตั้งแต่การออกแบบ การหล่อ การปั๊ม การพิมพ์ การปั้น ซึ่งปัจจุบันจะมีโรงงานผลิตรับทำ มีขั้นตอนการจัดหามวลสาร การทำพิธีปลุกเสก พุทธาภิเษก เทวาภิเษก ฯลฯ เพื่อให้วัตถุมงคลที่สร้างขึ้นมามีความเข้มขลัง ตัวช่วยอีกประการคือ การโฆษณาประชาสัมพันธ์ทางสื่อต่างๆ การพิมพ์เอกสารเผยแพร่ ฯลฯ มีวงเงินเดินสะพัดไม่น้อยเช่นกัน - การทำธุรกิจอันเกี่ยวเนื่องกับวัตถุมงคล พระเครื่องเมืองไทยซึ่งมีอยู่มากมาย ในที่นี้ขอกล่าวถึง "การจัดทำหนังสือพระ" ทั้งวารสาร นิตยสาร หนังสือพิมพ์ หนังสือภาพพระชนะการประกวด ฯลฯ หนังสือความรู้เกี่ยวกับพระเครื่องเมืองไทยจริงๆ ต้องนับ ปริอรรถาธิบายแห่งพระเครื่อง เล่ม 1 "พระสมเด็จฯ" เขียนโดย ตรียัมปวาย (พลตรีประจญ กิตติประวัติ) ในปีพ.ศ.2495 (ซึ่งภายหลังมีพิมพ์เป็นเรื่องต่างๆ ตามมา) หนังสือ "ประวัติและเกียรติคุณของสมเด็จพุฒาจารย์ (โต)" ของฉันทิชย์ กระแสสินธุ์ ซึ่งพิมพ์ในหนังสือตำรวจ เป็นตอนๆ ช่วง พ.ศ.2495-2502 และหนังสือ "รวมภาพพระเครื่อง" ของประชุม กาญจนวัฒน์ เจ้าของร้านถ่ายรูปพระรุ่นแรกๆ ที่ชื่อ ร้านโมนาลิซา หลังจากนั้น ธุรกิจพระเครื่อง จึงเกิดนิตยสารพระเครื่องเล่มแรกชื่อ "พระเครื่องปริทัศน์" ของประลอง กระแสสินธุ์ ในราวปีพ.ศ.2515 ต่อมาก็มี "อาณาจักรพระเครื่อง" ของ ลุงเปี๊ยก ปรีชา เอี่ยมธรรม, "ชาตรี" ของ ประชุม กาญจนวัฒน์, "อภินิหารและพระเครื่อง" ของ ชินพร สุขสถิตย์ ก่อนจะมาเป็น "ลานโพธิ์" และ "นะโม"ข่าวพระเครื่องและบทความพระเครื่องต่างๆ และ "หนังสือพิมพ์ข่าวสด" ดูเหมือนจะเป็นเจ้าแรกที่เริ่มนำความรู้เรื่องพระเครื่องเข้าสู่หน้าหลักของ หนังสือพิมพ์รายวันหลายฉบันเริ่มมีการให้ผู้สนใจส่งรูปพระเครื่องที่ตนเองมีมาลงโชว์พระเครื่อง ก่อนจะขยายตัวมาให้เห็นกระทั่งทุกวันนี้ครับผม นับเป็นการพัฒนาของวงการนักสะสมพระเครื่อง มาสู่โลกอินเตอร์เนท มีทั้งการเปิดร้านพระเครื่อง ประมูลพระเครื่อง ตลาดพระเครื่องออนไลน์ จากอดีตใครจะคิดว่าคนไทยจะมีความเชื่อมั่นไว้ใจการซื้อขายออนไลน์ |